Friday, September 30, 2016

ในยุคนี้ เรียนภาษาอะไรดี

เรียนภาษาอะไรดี ในยุคนี้

โดย จันทร์พา ทัดภูธร

เมื่อพูดถึง ภาาาและการเรียนภาษา เชื่อแน่ว่าคงเป็นที่สนใจของผู้อ่านอยู่ไม่น้อย ภาษาที่มีมากมายในโลกใบนี้ มีเพียงบางภาษาที่เป็นที่นิยม เช่น ภาษาไทย (เนื่องจากเป็นภาษาประจำชาติ) ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เนื่องจากเป็นภาษาสากล และระยะหลังมานี้เริ่มมีการพูดถึงภาษา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และภาษาอาเซ๊ยน เช่น พม่า เวียดนาม เขมร เป็นต้น



ผมเคยเสนอเอาไว้ว่า หากไทยต้องการพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน จริง ๆ แล้ว นโยบายทางภาษา (Language Policy) ของไทยเราควรชัดกว่านี้ จริงอยู่เรามีนโยบายทางภาษาของเราเองอยู่ แม้ไม่ได้เขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ในความคิดของผม การสร้างความชัดเจนให้กับนโยบาย ดีกว่า การใช้ความคลุมเครือ หรือปล่อยให้คนในชาติคิดเอาเอง เดาเอาเอง

ผลเสียของการขาดนโยบายที่ Prudent และ Comprehensive ของไทย อาจจะมีมากกว่าที่เราคิดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น การมุ่งเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งจนมากเกินไป อาจถูกครอบงำทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมได้ ตามแนวคิดของ Benjamin Lee Whorf หรือ ที่รู้จักกันในชื่อว่า Whorfian Hypothesis ที่เสนอว่า ภาษาส่งผลต่อวิธีคิดของคน

ผมได้เคยเสนอเอาไว้ว่า ไทยเราควร

"รักษ์ภาษาถิ่น   เก่งภาษาไทย ได้ภาษาสากล สื่อสารให้เกิดผลด้วยภาษาอาเซ๊ยน"

ข้อเสนอนี้เริ่มมีคนเห็นด้วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ ในยุคแห่งความเป็นพหุวัฒนธรรม (Multiculturalism) เราควรเรียนภาษาที่สะท้อนความเป็นไปในสังคม การเรียนรู้ภาษาถิ่น เรียกว่าต้องอนุรักษ์กันเอาไว้เลยทีเดียว การคงอยู่ของภาษาถิ่นคือการคงอยู่ของรากเหง้าของชาติ การเรียนรู้ภาษาประจำชาติเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง

คำว่าภาษาสากล หมายถึงภาษาที่รับรองโดยสหประชาชาติ 6 ภาษา   ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน จีน อาระบิก ภาษาทั้ง 6 ภาษานี้จัดเป็นภาษาทางการ การเลือกเรียนควรดูความถนัดของตนเอง





Guru Dakshina: Eklavya and the Buddha

Guru Dakshina: Eklavya and the Buddha By Janpha Thadphoothon If anything, this is one of those moments when I realized something profound. T...