Tuesday, December 29, 2015

ใครได้ ใครเสีย จาก การรวมกลุ่มเป็น Asean Community

This essay discusses one of the most sensitive issues in international relations,  that is,  those standing to lose and those standing to benefit from the Asean bloc.

To answer this question,  we need to look into the history of the region.  We know that Asean is an invention.  Before the 20th century,  continental Asean is called " Indochina ",   known to the West.

After WWII Asean members were either  given independence or forced to fight for it.

Tuesday, December 22, 2015

ที่เมียนมามีการขายส้มตำไหม

"คนเมียนมาชอบทานอาหารไทยครับ" --- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำมะละกอ หรือ ส้มตำ
มีคนเคยถามผมว่า ที่เมียนมามีการขายส้มตำไหม
คำตอบคือ มี เคยข้ามฝั่งไปเมียนมาแถว ๆ กาญจนบุรี เข้าไปหมู่บ้านแห่งหนึ่งไปช่วยเขาขนดินสร้างเจดีย์ (เซดี ในภาษาเมียนมา) ชาวบ้านเขาทำส้มตำมาเลี้ยงครับ รสชาติไม่ต่างกับของไทยเรา มีปลาร้าด้วยครับ
ที่เมืองใหญ่ ๆ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ มอละแหม๋ง มีส้มตำขาย ที่เคยเห็นเป็นการขายโดยรถเข็น คำว่า ตำมะละกอ ภาษาเมียนมาคือ คำว่า ติงปอตี้โต๊บ มาจากคำว่า มะละกอ คือ ติงปอตี้ และ โต๊บ แปลว่า ตำ
ที่น่าสนใจคือ สำหรับคนเมียนมาแล้ว ตำมะละกอ ได้รับความนิยมมาก และมองว่า เป็นอาหารไทย หรือ ไทยอะซ้าอะซา (โยดะยาอะซ้าอะซา ตามภาษาเมียนมาโบราณ) คนเมียนมาชอบทานอาหารไทยครับ
ที่เห็นมีส้มตำขาย คือ ลาว กัมพูชา ไทย และเมียนมา ครับ
ที่กัมพูชา คนเขมร เรียกว่า บ๊ดละหุ่ง บ๊ด แปลว่า ตำ ส่วนละหุ่ง คือ มะละกอ (ภาษาลาว + อีสาณ เรียกว่า บักหุ่ง)
သင်္ဘောသီးသုပ်

Drama @ 2015 Miss Universe Pageant

Drama @ 2015 Miss Universe Pageant
มีคำศัพท์ แลพสำนวน ที่ควรรู้มาฝากครับ
A beauty pageant คือ A beauty contest (การประกวดนางงาม) นิยมใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ครับ แถวอังกฤษใช้ A beauty contest
" pageant " ออกเสียงว่า แพเจ้นท์
คำขอโทษของ Steve Harvey พิธีกร น่าสนใจครับ ลองมาดูพร้อม ๆ กันนะครับ
"OK, folks, I have to apologize. the first runner up is Columbia.
Miss Universe 2015 is Philippines."
คำว่า folks เป็นคำทักทายผู้ชมอย่างไม่เป็นทางการ ฝรั่งชอบใช้บ่อย ๆ
" I have to apologize" แปลว่า ผมต้องขออภัย
have to + V1 แปลว่า ต้อง เช่น I have to go now. ผมต้องไปแล้วตอนนี้
And the winner is ...หมายถึง ผู้ชนะคือ ...................
The first runner up แปลว่า รองอันดับหนึ่ง
The second runner up คือ รองอันดับ 2 --- ได้ที่ 3 นั่นเอง
ลองมาอ่าน Twitter ของ Steve Harvey กันนะครับ
"I'd like to apologize wholeheartedly to Miss Colombia & Miss Philippines for my huge mistake. I feel terrible."
I'd like to apologize wholeheartedly to Miss Colombia & Miss Philippines. ผมขอโทษนางงามฟิลิปปินส์ และนางงาม โคลัมเบีย จากใจทั้งหมดของผม
wholeheartedly แปลว่า ทั้งหมดของใจ (ก็น่าอยู่หรอก)
My huge mistake. แปลว่า ความผิดอันใหญ่หลวงของผม
I feel terrible. คำว่า Terrible แปลว่า แย่มาก -- ผมรู้สึกแย่มาก
Photo: Bangkok Post (22 Dec 2015)

Friday, December 18, 2015

"แม่ชีเดินเข้า 7-11" --- เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ

"แม่ชีเดินเข้า 7-11" --- เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ
เมื่อวานได้รุ้คำศัพท์ภาษาจีนกลาง 1 คำ คือคำว่า "เหลา" 楼 - Lóu
เห็นคนจีน 2-3 คนอยู่ในลิฟต์
ปกติถ้าเป็นฝรั่ง จะถามว่า ชั้นไหนครับ Which floor? 
แต่คนจีน ไม่ชัวร์ เลยถือโอกาส ถามว่า ชั้นไหน รู้ว่า ไหน คือ หนา Nǎ
"หนาเหลา" น่าจะหมายถึง ชั้นไหน จึงลองพูดดู คนจีนก็ยิ้ม ๆ บอกว่า ชีเหลา
(ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า หนาเหลา)
อ๋อ ชั้น 7 นี่เอง ก็เลยกดให้ คนจีนบอกขอบคุณ เชี้ยเชี้ยหนี่
ํYou're welcome" แบบจีนคือ Bù kèqì ปู้เก้อชี
การสื่อสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับต่างชาติ แท้จริงแล้วจีน-ไทย ใช่อื่นไกล
7 คือ ชี Qī หลักการจำ 7 มีหลายวิธี ให้มองให้เห็นภาพว่า มีแม่ชีเดินเข้าร้าน 7-11
ชี = 7
ส่วน เหลา 楼 - Lóu เพิ่งนึกออก ว่า เรารู้คำนี้ มานานแล้ว กินอาหาร เหลา คือ อาหารในตึก ในอาคาร ฉาเหลา คือ โรงน้ำชา เหลา แปลว่าชั้นของตึกก็ได้

ยังยืนยันว่า  แท้จริงแล้วจีน-ไทย ใช่อื่นไกล

เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ สามารถทำได้ครับ ที่สำคัญต้องกล้าพูด

Thursday, December 17, 2015

ครูไทยส่วนใหญ่มองว่า “ภาษาต่างประเทศ” สำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ครูไทยส่วนใหญ่มองว่า “ภาษาต่างประเทศ” สำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ผลสำรวจชี้ ครูไทยต้องการการพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศ
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ สำรวจความคิดเห็นครูทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,032 คน ระหว่างวันที่ 1-9 ธันวาคม 2558 เกี่ยวกับความคิดเห็นของครูไทยที่มีต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ 2558
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ครู” คิดอย่างไร? ต่อการศึกษาไทย กับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อันดับ 1 ทุกฝ่ายตื่นตัว เกิดการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียน 77.72%
อันดับ 2 เกิดการพัฒนาด้านภาษา การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน 73.24%
อันดับ 3 ภาครัฐให้ความส าคัญ ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษากับการเข้าสู่อาเซียน 71.56%
อันดับ 4 ความกระตือรือร้น สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น ได้ประสบการณ์ พัฒนาตัวเอง 63.85%
อันดับ 5 เด็กได้ประโยชน์ ได้ความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นการพัฒนาผู้เรียน 60.92%
2.“ผลดี-ผลกระทบ” ต่อ การศึกษาไทย กับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.1 “ผลดี” (Pros)
อันดับ 1 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดกว้างทางการศึกษาและวัฒนธรรม 80.65%
อันดับ 2 ทั้งครูและนักเรียนได้พัฒนาภาษาต่างประเทศ 70.06%
อันดับ 3 การศึกษาไทยก้าวหน้า พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น 68.35%
อันดับ 4 ครูมีคุณภาพมากขึ้น สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 57.79%
อันดับ 5 การศึกษากับเทคโนโลยีได้พัฒนาไปพร้อมๆกัน 53.19%
2.2 “ผลกระทบ” (Cons)
อันดับ 1 เกิดความเหลื่อมล้ำ ศักยภาพของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 84.40%
อันดับ 2 เรื่องของภาษาที่ยังไม่สามารถพูดได้หรือฟังได้อย่างคล่องแคล่ว 78.38%
อันดับ 3 ครูยังไม่พร้อม การจัดการศึกษายังไม่มีการบูรณาการเท่าที่ควร 69.60%
อันดับ 4 เกิดความกดดันเนื่องจากมีการแข่งขันสูงขึ้น 58.91%
อันดับ 5 การเปิด-ปิด ภาคเรียนไม่พร้อมกัน 42.88%
3. คุณสมบัติของ “ครูไทย” กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนควรเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 สื่อสารพูด-คุย ภาษาต่างประเทศได้ ใช้เทคโนโลยีเป็น 79.18%
อันดับ 2 พัฒนาตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม 76.05%
อันดับ 3 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาเซียน เช่น สังคม วัฒนธรรม การด ารงชีวิต 68.23%
อันดับ 4 จัดการเรียนการสอนให้น่าสนใจ บูรณาการไปสู่ความเป็นอาเซียน 66.37%
อันดับ 5 ขยัน อดทน เอาใจใส่ดูแลเด็ก รักในวิชาชีพครู 61.08%
4. “ครูไทย” ควรเตรียมตัวอย่างไร? กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อันดับ 1 ศึกษาหาความรู้ มีข้อมูลต่างๆของกลุ่มประเทศอาเซียน 81.20%
อันดับ 2 ติดตามข่าวสาร ความคืบหน้าสม่ าเสมอ 76.69%
อันดับ 3 พัฒนา ฝึกฝนด้านภาษาและเทคโนโลยี 71.11%
อันดับ 4 การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและทันสมัย 57.36%
อันดับ 5 เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่อาเซียน 50.48%
ที่มา: สวนดุสิตโพล

Monday, December 14, 2015

มิตทิลา เมืองแห่งใจกลางของเมียนมา

เมืองมิตทิลา เมืองแห่งใจกลางของเมียนมา

จันทร์พา ทัดภูธร
ป้ายหน้าร้านอาหารระหว่างทางเมืองมิตทิลา (Meitila)
ตามทางด่วน (อะเมี่ยนลาน) สายย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ ความยาวร่วม 577.65 กิโลเมตร
แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเมียนมา
ร้านอาหารสะอาด ห้องน้ำสะอาด จุดพักรถโดยสารขาล่องจากมัณฑะเลย์ ก่อนถึงเนปิดอร์
ป้ายบอกลูกค้าถึงประเภทของอาหารที่มีบริการครับ
ที่มา แผนที่จาก Google Map

เมียนมาอะซ้าอะซา - อาหารเมียนมา
โยดะยา อะซ้าอะซา - อาหารไทย
ตะย๊กอะซ้าอะซา - อาหารจีน
อีน - ชานอะซ้าอะซา - อาหารไทยใหญ่ (รัฐฉาน)
ยุโรป้าอะซ้าอะซา - อาหารยุโรป

ข้อสังเกต แถบใจกลางของเมียนมา ที่เรียกว่า พม่า (Bamar) นั้น ยังนิยมอ้างถึงไทยว่า โยดะยา แต่แถบทางตอนใต้ ย่างกุ้ง รัฐมอญ นิยมเรียกว่า ไทย
ชื่อเมืองตั้งชื่อตามนครในประวัติศาสตร์ของอินเดียโบราณครับ นั่นคือมิถิลานคร คงจำกันได้ถึงทศชาติชาดกเรื่อง พระมหาชนก ที่บอกเล่าถึงตอนที่พระมหาชนก็ว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรอันมองไม่เห็นฝั่ง อยู่ 7 วัน จนกระทั่ง ทางมณีเมขลา มาช่วยไว้ และอุ้มไปยังเมืองมิถิลานคร

Another set of pressing issues Thailand is facing: Equity in Society

Another set of pressing issues Thailand is facing: Equity in Society

Janpha Thadphoothon

(Photo: Bangkok Post, 14 December 2015)
I have read this article written by two Khnon Kaen University's lecturers: John Draper and Peerasit Kammuansilpa. This article expresses grave concerns over Thailand's racial tensions, as the kingdom is moving toward cosmopolitanism and multiculturalism. The situation we are in has been perceived and analyzed by many independent think-tanks as 'perilous' and, thus, prudent and immediate measures and dialogs within the kingdom and international partners are required, to avoid "a downward spiral of worsening ethnocentrism and xenophobia"



It must be noted that Writer: John Draper and Peerasit Kamnuansilpa are not new in voicing their concerns and opinions on various issues on human rights, earlier this year, one of their articles: "200,000 migrant kids deserve a chance" has been published by the Bangkok Post.
The article worth reading and contemplating upon. Read the full paper at the link below:

http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/793409/racial-tensions-face-perilous-tipping-point

Tuesday, December 8, 2015

การใช้คำว่า cũng (กุ๋ง) ในภาษาเวียดนาม

คำว่า CŨNG แปลว่า  " ก็ " เป็นคำกริยาวิเศษณ์ หรือ ADVERB
ใช้นำหน้าคำกริยาหลัก เช่น

Tôi cũng đi. โตย กุ๋ง ดี
ฉัน ก็ ไป

Ai cũng thích. ไอ กุ๋ง ธิ๊ช
ใครๆ ก็ ชอบ

Tôi cũng nghĩ vậy. โตย กุ๋ง ญี๋ เว๋ย
ฉันก็คิดเช่นนั้น

ซีดี แนะนำภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับคนขับรถแท็กซี่ Edition 2015


ซีดี แนะนำภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับคนขับรถแท็กซี่ Edition 2015 เปิดตัวแล้วครับ
โดย ชมรมเพื่อนแท็กซี่ดีพียู


Monday, November 30, 2015

เมื่อภาษาอังกฤษคืออุปสรรคในการพัฒนาประเทศ

เมื่อภาษาอังกฤษคืออุปสรรคในการพัฒนาประเทศ
When English is (perceived to be) a barrier to National Development
จันทร์พา ทัดภูธร

เวลาสักราว ๆ เที่ยงวันได้ยินคุณ บัญชา ชุมชัยเวทย์ ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 รายงานว่า 
อุปสรรคของในในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันกับอาเซียนของไทย หรือสร้างประชาคมอาเซียนมี หลัก ๅ อยู่ 3 ประการ
จำเปอเซ็นต์ไม่ได้ แต่จำได้ว่า อันดับแรกคือ ความขัดแย้งทางการเมือง ที่น่าแปลกใจคือภาษาอังกฤษ ตามมาติด ๆ เป็นอันดับสอง สูงกว่าปัญหาคอรับชั่นเสียอีก


ในฐานะที่สอนภาษาอังกฤษมานาน คงจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่ายังต้องทำงานให้ดีกว่าเดิม

ช่วย ๆ Speak English กันหน่อยนะครับ ผมว่าน่าจะแก้ไขง่ายกว่าอีก 2 ข้อที่เหลือ


    Say 'No' to corruption.
     Stop fighting each other.

          Start speaking English 

松尾 金作 หรือ Matsuo Bashō

สวัสดีตอนเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558
วันสุดท้ายของเดือน พ.ย. ปี 2558 (ค.ศ. 2015)
วันที่ 28 พ.ย. เป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของกวีชาวญี่ปุ่นนามอุโฆษ 松尾 金作 หรือ Matsuo Bashō มัตสุโอะ บะโช
และบทกวีไฮกุที่สร้างชื่อให้กับท่านคือ บทกวีที่ว่าด้วยกบกระโดดน้ำ

古池 ฟุรุย อิเกยา
蛙飛び込む คาวาสุ โทบิโกมุ
水の音 มิสุ โนะ โอโตะ
Furuike ya - An ancient pond
Kawazu tobikomu - A frog jumps in
Mizu no oto - The sound of water
ผมแปลง่าย ๆ ว่า
สรเอ๋ย สระน้ำเก่า
กบน้อยกระโดดดึ๋ง ลงไป
ได้ยินเสียงดังจ๋อม

จะเห็นได้ว่า ความโดดเด่นคือความเรียบง่าย Simplicity ไม่มีอะไรมาก มี สระเก่า ๆ หนึ่งสระ มีกบตัวหนึ่ง โดดนำ้ลงไปในสระนั้น และมีเสียงของการกระทบกันระหว่างกบกับน้ำ

บทกวีไฮกุ นิยมแต่งขึ้นให้เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและชีวิต ไม่จำเป็นต้องตัวตัวละครเป็นมนุษย์ก็ได้ เช่น

หญ้าตามร่องคอนกรีต 
หนาว ร้อน ฝน ไม่บ่น 
โดนเหยียบย่ำ ทนเอา


อ้างอิง
www. poetryconnection. net

Thursday, November 26, 2015

คำ และ ความหมายของคำ (Words and Their Meanings)

คำ และ ความหมายของคำ (Words and Their Meanings)
จันทร์พา ทัดภูธร
คำทุกคำมีความหมายตรง คำว่าตรงในที่นี้หมายถึงตรงตามตัว เช่น เสือ คือสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่า คำว่า “เสือ” ยังหมายถึง “โจรมีชื่อ” เช่น เสือดำ
ความหมายตรง (Literal Meaning) และ ความหมายเพื่อแสดงภาพพจน์
(Figurative Meaning) หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบนั่นเอง
He’s a tiger. เขาเป็นเสือ - ความหมายในเชิงเปรียบเทียบ
There are two tigersin the zoo. -- ความหมายตรง
His wit added salt to the discussion. ปฏิภาณไหวพริบของเขาเพิ่มรสชาติให้กับการสนทนา
salt คงไม่ได้หมายถึงเกลือแต่หมายถึงรสชาติ
ลองเปรียบเทียบกับ Could you pass me the salt, please? เราย่อมรู้ว่าให้ช่วยส่งกลือให้ นี่คืิความหมายตรงหรือ literal meaning
You really are a saint to put up with her. นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของความหมายในเชิงเปรียบเทียบ -- จริง ๆ แล้ว คุณไม่ใช่นักบุญ เป็นการเปรียบเปรย
Tibet is known as the roof of the world. กล่าวกันว่าธืเบตคือหลังคาของโลก
หลังคาของโลก ไม่ใช้หลังคาจริง ๆ การใช้ภาษาแบบนนี้ เราเรียกว่า อุปลักษณ์ (metaphor)
อีกตัวอย่างเช่น Many heads are better than one head. หลายหัวดีกว่าหัวเดียว


Wednesday, November 25, 2015

"เทศกาลลอยกระทง" มีที่ประเทศไทยเท่านั้น



"เทศกาลลอยกระทง" มีที่ประเทศไทยเท่านั้น ขอยืนยันครับ
(The Loy Krathong Festival --- Uniquely Thai)

จันทร์พา ทัดภูธร

เทศกาลสงกรานต์อาจจะมีการฉลองหรือเล่นน้ำในหลาย ๆ ประเทศของอาเซียน เช่นที่เมียนมา เรียก ติงยาน สปป ลาวเทศกาลปีใหม่ ที่กัมพูชา แถว ๆ เมืองพระตะบองหรือเสียมราฏ ก็มีการเล่นสงกรานต์ เหมือนเมืองไทยเรา
แต่ที่แตกต่าง และไม่มีที่ไหนเหมือนคือ เทศกาลลอยกระทง ที่มีเฉพาะที่ไทยเราเท่านั้น


ประเพณีที่ดีงามของไทยเรา ควรอนุรักษณ์และสืบทอดเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไป และที่สำคัญ เราเป็นที่เดียวในโลกใบนี้ที่มีวิธิการลอยกระทง ตกแต่งกระทง และคติความเชื่อที่เป้นเอกลักษณ์ของเราเอง ไม่มีทั้ไหนเหมือน
- เรามีการประกวดนางนพมาศ ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง --- ที่อื่นๆไม่มี
 เรามีเพลงลอยกระทง ที่ทุกคนร้องได้ แม้แต่เด็ก ๆ ก็ร้องได้ --- ที่อื่นไม่มีครับ
- เรามีคติความเชื่อเรื่องการขอขมาพระแม่คงคา --- ที่อื่นไม่มี
- เรามีการประกวดกระทง --- ทีอื่นไม่มี
- เรามีการลอยกระทงทั่วทั้งภูมิภาค ทั่วทั้งอำเภอ หมู่บ้าน แม้กระทั้งต่างประเทศ --- มีแต่ไทยเท่านั้นที่ทำได้ ที่อื่นไม่มีแบบนี้ ไม่ยิ่งใหญ่และทั่วถึงเท่าของไทยเรา
ยังไม่นับพิธีกรรม คติความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่มีที่ไหนเหมือน เช่นการใส่เงินลงในกระทง ใส่เส้นผม เล็บ ....
แม้จะมีประเพณีที่คล้าย ๆ กับการลอยกระทงในบางส่วนของอาเซียน เช่น ที่รัฐฉานของเมียนมา แต่ที่นั่นเขาปล่อยโคมไฟ ไม่ได้นำกระทงไปลอยในน้ำ คลอง เหมือนประเทศไทย และมีคติความเชื่อที่แตกต่างจากไทยเรา
เท่าที่ทราบ ที่ภูมิภาคอื่น ๆ ของเมียนมา ไม่มีการลอยกระทง
ที่ลาว ไม่เคยเห็นว่ามีการลอยกระทง เคยเห็นแต่การไหลเรือไฟ ในเทศกาลออกพรรษา
ที่กัมพูชา เท่าที่รู้ วันเพ็ญเดือนสิบสอง คนเขมรไม่ลอยกระทง เหมือนบ้านเรา แน่ ๆ
ต้องขอบพระคุณบรรพชนของไทยเรา ที่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เราได้เรียนรู้และสืบทอด
ดังนั้น "เทศกาลลอยกระทง" มีที่ประเทศไทยเท่านั้น ขอยืนยันครับ
So, it is evidenced that the festival is uniquely Thai...

Tuesday, November 24, 2015

ศัพท์และสำนวนเกี่ยวกับเทศกาล ลอยกระทง

ศัพท์และสำนวนเกี่ยวกับเทศกาล ลอยกระทง
จันทร์พา ทัดภูธร
Words and Expressions about the Loy Krathong Festival
คุณจะไปลอยกระทงที่ไหน = Where are you going to float a Krathong?

งานวัด คือ temple fair
ทอดแมลง คือ deep -fried insects
ชิงช้าสวรรค์ คือ Ferris wheel 🎡
ม้าหมุน carousel
ขี่ม้าหมุน คือ to ride a horse on a carousel
บ้านผีสิง คือ haunted house 🏠
ยิงเป้า /ปาเป้า คือ shooting galleries
สาวน้อยตกน้ำ คือ a dunking booth featuring scantily clad girls
หากมีฝรั่งหรือต่างชาติถามเราว่า ลอยกระทงไปทำไม เราอาจอธิบายง่าย ๆ ว่า
The act of Loy Krathong is symbol of letting go of all anger, misfortune, and grudges and starting a new life, a new beginning.
การลอยกระทงคือการแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของการปล่อยความโกรธ โชคร้าย และความคับแค้นใจ ต่างๆ ให้หายไป และเริ่มต้นใหม่

การประกวดนางนพมาศ = A Beauty Queen Contest หรือ "The Noppamas Queen Contest"

ทางเหนือของไทย เชียงใหม่ รวมถึงเมืองของรัฐไทยใหญ่ อย่างตองยี (Taunggyi ) มีเทศกาลลอยโคมไฟ หรือที่เรียกว่า Sky Lantern festival หรือ Fire Balloon Festival


เรียกประเพณีนี้ว่า ยี่เปง Yee Peng - เป็นการ ลอยโคมไฟบนท้องฟ้า หรือ floating of lanterns into the sky

Friday, November 20, 2015

จุดเด่นของภาษา (Language Characteristics)

จุดเด่นของภาษา (Language Characteristics)
โดย จันทร์พา ทัดภูธร
ลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษานั้นมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้เราเข้าใจวิธีการและรูปแบบการสร้างความหมายของคำ ทั้งนี้ความแตกต่างและความเหมือนคือเสน่ห์และสีสรรค์ ของการเรียนภาษา

ภาษาไทย ลาว เขมร มีความเหมือนกันมากกว่าความแตกต่างกัน

จุดเด่น คือ จุดที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

ภาษาอังกฤษ มีจุดเด่นตรงที่มี inflectional features สูง มี การผันคำกริยาและมี Tenses และ Phrasal Verbs มาก การรู้รากศัพท์ อุปสรรค์และปัจจัย จะช่วยเราได้้มาก หากต้องการรู้ภาษาในระดับลึกซึ้ง

ดังนั้นการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพึงต้องใส่ใจในเรื่องของอุปสรรค (Prefixes) ปัจจัย(suffixes) ของคำ และ รากศัพท์ (Roots)

ง่าย ๆ ก็คือ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนความหมายของคำและหน้าที่ของคำโดยการใช้คำนำหน้าและคำตามหลังคำ ภาษาอังกฤษเรียกว่าเป้น Inflectional Language

ซึ่งจะแตกต่างกับตระกูลภาษาคำโดด เช่น ลาว เวียดนาม จีน และไทย

ภาษา ลาว เวียดนาม จีน และไทย ไม่ค่อยเรื่องมากเรื่อง Tense คำกริยาไม่มีการผัน แปร และเปลี่ยนมากมายนัก

มีการใช้ อุปสรรคและปัจจัยน้อย การสร้างคำนิยมนำคำมาต่อ ๆ กัน จึงมักเกิดสิ่งที่เรียกว่า serial verbs หรือ ชุดของคำกริยา

เช่น เรามีคำว่า ไป เอา มา ภาษาเมียนมา စာအုပ် သွားယူလာပါ။ โปรดไปเอาหนังสือมา
ตวายูลา คือ ไป เอา มา ตวา - ไป ยู - เอา ส่วน ลา คือ มา


Friday, November 13, 2015

James Henry Leight Hunt

James Henry Leight Hunt (1784-1859) คือ หนึ่งในบรรดากวีชาวอังกฤษ ร่วมสมัยกับกวีดัง ๆ อย่าง John Keats บทกวีที่สร้างชื่อให้กับท่าน คือ "Jenny Kiss'd Me" และ "Abou Ben Adhem" ผลงานของเขาอ่านเข้าใจง่ายใช้ภาษาง่าย ๆ ใคร ๆ ก็อ่านเข้าใจ
ลองมาอ่านกันดูดีไหมครับ แม้ว่าสมันนี้ คนเรียนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ในไทยน่าจะเลิกให้ความสำคัญและสนใจเรียนรู้วรรณคดีอังกฤษ ไปแล้ว (ส่วนใหญ่ เห็นมุ่งสอบ TOEIC เป็นงานหลัก) แต่ผมยังเชื่อว่าการอ่านบทกวีของ "กวี หรือ Poet" ทำให้เราเข้าใจภาษาในอีกมิติหนึ่ง
."Jenny Kiss'd Me"
Jenny kissed me when we met,
Jumping from the chair she sat in;
Time, you thief, who love to get
Sweets into your list, put that in!
Say I'm weary, say I'm sad,
Say that health and wealth have missed me,
Say I'm growing old, but add,
Jenny kissed me.
-------------
"Abou Ben Adhem"
Abou Ben Adhem (may his tribe increase!)
Awoke one night from a deep dream of peace,
And saw, within the moonlight in his room,
Making it rich, and like a lily in bloom,
An angel writing in a book of gold:—
Exceeding peace had made Ben Adhem bold,
And to the Presence in the room he said
"What writest thou?"—The vision raised its head,
And with a look made of all sweet accord,
Answered "The names of those who love the Lord."
"And is mine one?" said Abou. "Nay, not so,"
Replied the angel. Abou spoke more low,
But cheerly still, and said "I pray thee, then,
Write me as one that loves his fellow men."
The angel wrote, and vanished. The next night
It came again with a great wakening light,
And showed the names whom love of God had blessed,
And lo! Ben Adhem's name led all the rest.
อ้างอิง
English Poetry: from Collins to Fitzgerald (1910) . Edited by Charles W, Elliot. P.F. Collier & Son Corporation: New York.
Photo below taken from http://www.poemhunter.com/james-henry-leigh-hunt/ [ Nov 2013]
Like   Comment   
Comment

Friday, November 6, 2015

Implications of the result of Myanmar 2015 General Election on Nov 8, 2015 on the Thai Economy and Thailand at the Transitional Period

"นัยของผลการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย"
"Implications of the result of Myanmar 2015 General Election on Nov 8, 2015 on the Thai Economy and Thailand at the Transitional Period"
โดย จันทร์พา ทัดภูธร
ผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ อาจไม่ Qualify ที่จะวิเคราะห์เศรษฐกิจ แต่ขอวิเคราะห์ในฐานะนักภาษาศาสตร์ และนักการศึกษา ลองอ่านดูแล้วลองพิจารณาดูก็แล้วกัน
การที่ไทยยังอยู่ในระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ทำให้ไทยยังต้องเอาหลังพิงอาเซียน และการค้าขายกับเพื่อเก่า เช่น จีน ญี่ปุ้น เพื่อทดแทนและชดเชยการส่งออกที่ลดลงจากการค้ากับคู่ค้าเดิมทางตะวันตก
ในยุคนี้ ไทย-เมียนมา มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก ภาาาเมียนมาใช้คำว่า "มหามิตร" มีนักการทหารเคยกล่าวเอาไว้ว่า .ไม่เคยมียุคใด นอกจากในสมัยที่บิ๊กจิ๋ว หรือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นเป็นผู้นำกองทัพ ที่ความสัมพันธ์ของสองประเทศ เมียนมา-ไทย จะแนบแน่นเท่านี้มาก่อน"
กอรปกับการที่เมียนมาเข้าสู่ยุคทองแห่งการพัฒนา Struggle อยู่กับช่วงเปลี่ยนถ่ายและปรับตัวหลังสงคราวโลกครั้งที่ 2 และการที่ต้องอู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา คาดว่าปี 2558 จะโต 9.6 % ซึ่งจะถือว่าสูงที่สุดในเอเชีย ของไทยเราหากโตถึง 4 % ได้ก็จะถือว่าโชคดีมาก แน่นอนอาจมีผู้บอกว่า Economic size หรือ ขนาดทางเศรษฐกิจของไทย กับเมียนมานั้นคนละ size กัน แต่ก็ต้องยอมรับ ณ วันนี้ว่า เมียนมา "มาแรง"
สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นจุดแข็งของเมียนมา คือ ความสามรถของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็น ดอร์ ออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรค NLD ท่านประธานาธิบดี อู เต็ง เส่ง และผู้นำกองทัพอย่างพลเองอาวุโส มิน ออ่ง ไล ทั้ง 3 ท่าน มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้ใหญ่ เป็นหลักของเมียนมา
ดอร์ ออง ซาน ซู จี แม้จะไม่ได้ถูกอย่างตามที่ขอ แต่ก็มีวุฒิภาวะทางการเป็นผู้นำสูง ไม่แสดง ออกอาการให้เสียศูนย์ ยอมรับข้อจำกัดและเงื่อนไขของสังคมและประเทศ
ไม่ว่าพรรค NLD หรือ พรรค USDP จะได้เสียงข้างมาก ก็น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
Scenario ที่ 1 หาก NLD ชนะแบบถล่มทะลาย แม้ ดอร์ ออง ซาน ซู จี จะไม่สามารถขึ้นนำเป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพได้ แต่ จะมีคนอื่น ขึ้นนำแทน แต่ที่จะเกิดขึ้น แน่นอน คือ การรื้อระบบ การให้สัมปทานกับต่างชาติของเมียนมาที่ได่ทำมาแล้วในอดีตและที่จะทำในอนาคต ออง ซาน ซู ขี เคยพูดเอาไว้เสมอว่า ชาวเมียนมายังไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร จากการลงทุนของต่างชาติในเมียนมา และอาสาจะเข้าสมาดูอย่างละเอียด
Scenario ที่ 2 หาก NLD ไม่ชนะ แต่แพ้เพียงเล็กน้อย อิทธิพลของพรรคยังจะแรงอยู่ คาดจะสามารถร่วมกับพรรคเล็ก ๆ ผลักดันนโยบายได้อยู่ดี
ดังนั้นไม่ว่า อะไน อะโช หรือ แพ้-ชนะ จะเป็นของพรรคใด ย่อมส่งผลกระทบต่อไทยแน่ ๆ ในยามที่ไทยยังต้องพึ่งพาการค้าขาย การลงทุน กับเพื่อนบ้าน ในช่วงเปลี่ยนผ่าน
ที่กำลังเกิดขึ้น คือ แรงงานชาวเมียนมาในไทย เริ่มจะหายากขึ้น เนื่องจากส่วนหนึ่งสามารถหางานทำใกล้บ้านได้แล้ว มีการก่อสร้างตึก สร้างถนน เยอาะแยะ
ผมเคยเห็นโทรทัศนฺ์ไทยหลาย ๆ ช่องในอดีตถ่ายทอดสด ติดตามการเลือกตั้งของอเมริกาใน อดีต เพราะเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อไทย
เราให้ความสำคัญน้อยมากกับการเลือกตั้งของเมียนมา ในครั้งนี้ ไม่เกินปลายปีนี้เราจะทราบว่า ผลกระทบจะมีอะไรบ้างและจะมากน้อย-แค่ไหน
อย่าลืมติดตามผลการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมา กันนะครับ

Wednesday, November 4, 2015

ชนิดของคำในภาษาเมียนมา

"ชนิดของคำในภาษาเมียนมา"
(Parts of Speech in the Myanmar Language"
โดย จันทร์พา ทัดภูธร
ทุกภาษามีการแบ่งคำออกเป็นส่วน ๆ เช่นภาษาอังกฤษ เราแบ่งออกเป็น 7 ชนิด
เช่น noun คือ คำนาม Verb คือ คำกริยา เป็นต้น
สำหรับภาษาเมียนมา นั้น ก็เช่นเดียวกัน ปราชญ์ เมียนมา โดย Myanmar Language Commission (เมียนมาซาอปอย) หากเทียบกับของไทยก็คือ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา นั่นเอง
อนึ่ง คำว่า ชนิดของคำ ในภาษาเมียนมาคือ วาซิงคะ มาจากคำว่า วาจก หรือ วาจา แปลว่าคำพูด (Speech) และ อิงคะ แปลว่า สว่น (parts)
สำนักงานคณะกรรมการภาษาเมียนมา หรือ Myanmar Language Commission (เมียนมาซาอปอย) ได้แบ่งชนิดของคำออกเป็น 9 ชนิด
กล่าวคือ ในปี ค.ศ 1980 Myanmar Language Commission ได้ประกาศรับรองการแบ่งคำ ออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. คำนาม (nouns)
2. คำสรรพนาม ( pronouns)
3. คำคุณศัพท์ (adjectives)
4. คำกริยา (verbs)
5. คำกริยาวิเศษณ์ (adverbs)
6. คำวิภัตติ ( postpositional markers)
7. คำอุปสรรค-ปัจจัย (particles)
8. คำสันธาน (conjunctions) และ
9. คำอุทาน (interjections).
จะสังเกตได้ว่า ภาษาเมียนมา มีลักษณะทางไวยากรณ์ หรือ ตัดดา Grammar ในภาษาอังกฤษ คล้ายคลึงกับภาษาบาลีมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือ โครงสร้างประโยค แบบ
ประธาน + กรรม + กริยา
เช่น
ดอ มะมะเอ (ป้ามะมะเอ) ทมิน (ข้าว) ซา (กิน) เน แด่ (กำลัง).
ป้ามะมะเอกำลังกินข้าว
และเป็น ภาษาที่มี มีวิภัตติปัจจัย (Inflectional features) เช่นเดียวกับ ภาษาบาลี และญี่ปุ่น
หากเทียบกับภาษาญี่ปุ่น เราจะพบความว่าคล้าย ๆ กัน
Akina jang (หนููอะกินะ) gohan (ข้าว) o tabete imasu (กำลังกินอยู่).
หนูอะกินะ กำลังทานข้าว
จะขอพูดถึงเฉพาะ วิภัตติและปัจจัย
คำวิภัตติ ( postpositional markers)
กิน - ซา + แด คำว่า แด หรือ ดี เป็น วิภัตติ ชนิดหนึ่ง
โก บอก กรรม - เช่น จะหน่อโดะ ยะเนะ บะโก โก ตัว แลแม่.
วันนี้ เราจะไปหงสาวดี
จากประโยคต่อไปนี้เราจะพบ การใช้วิภาตติ 2 คำ คือ หา่ และ เปาะ
มะเนะเปี่ยน ห่า ตะนิงกะนวนเนะ เปาะ.
พรุ่งนี้ นั้น คือวันอาทิตย์ (แน่นอนอยู่แล้ว)
เปาะ - แสดงความแน่นอน
ห่า คือ วิภัตติแสดง นาม แปลเป็นไทย คือ นั้น
คำอุปสรรค-ปัจจัย (particles) เราจะมีความคุ้นเคยมากกว่า เพราะเราเห็นประจำในภาษาบาลีในภาษาไทย
การศึกษา ในภาษาเมียนมา คือ ปัญญาเยะ มาจาก ปัญญา + เย + ปัญญา
ปัญญาเยหวุ่นจีฐานะ คือ กระทรวงศึกษาธิการ
แหง่ตอ คือ คำคุณศัพท์ แปลว่า เล็ก หากเติมอุสรรค อะ จะเป็นคำนาม
เช่น อะ + แหง่ เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งของหรือ คน ที่เล็ก ๆ
ไนแง่ง + เย แปลว่า การเมือง
ไนแง่ง แปลว่า ประเทศ / เมือง
Like   Comment   

    New

Sunday, November 1, 2015

Let's speak Vietnamese

"Let's speak Vietnamese"
โดย จันทร์พา ทัดภูธร
ไม่ได้พูดถึงภาษาเวียดนาม มานานพอสมควร ขอกลับมาเล่าเรื่องภาษาเพื่อนบ้านอาเซียนภาษานี้อีกครั้งครับ
ภาษาเวียดนามนั้น คนเวียดนามเรียกว่า Tiếng Việt (เต่ง เวี๊ยต) คำว่า Tiếng แปลว่า ภาษา
เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนามใช้คำว่า Tiếng Anh
ภาษาไทย คือ Tiếng Thái
ภาษาญี่ปุ่น tiếng Nhật เตี๋ยงญัต
học tiếng Anh = học (ฮอค) แปลว่า เรียน -- ฮอค เตี๋ยง อั่น คือ เรียนภาษาอังกฤษ
học tiếng Việt = คือ เรียนภาษาเวียดนาม
Tôi muốn học tiếng Việt. ฉันต้องการเรียนภาษาเวียดนาม
tôi แปลว่า ฉัน
muốn แปลว่า ต้องการ
học แปลว่า เรียน
nói แปลว่า พูด
được เดือก แปลว่า ได้
Tôi nói tiếng Anh được . โตย นอย เตี๋ยง อั่ง เดือก แปลว่า ฉันพูดภาษาอังกฤษได้
Bạn แปลว่า คุณ
Bạn nói tiếng Việt được không? บั่นหนอยเตี๋ยงเวี๊ยต เดือกคง
แปลว่า คุณพูดภาษาเวียดนามได้ไหม
หากตอบว่า ได้ ให้ตอบว่า được (เดือก) หรือ ได้
ตอบปฏิเสธ บอก ไม่ได้ พูดว่า không được คงเดือก
อาจเลือกตอบว่า พูดได้นิดหน่อย โดยพูดว่า nói được một chút
นอย เดือก หม๊ด จ๊ด คำว่า một chút แปลว่า นิดหน่อย
Tôi nói tieng Trung Quoc được một chút. โตย นอย เตี๋ยง จุง กว๊ค เดือก หมด จุ๊ต
ฉันพูดภาษาจีนได้นิดหน่อย
Trung Quoc แปลว่า จีนกลาง
Tiếng Hán เตี๋ยงฮั่น ภาษาฮั่น
โดย จันทร์พา ทัดภูธร

Friday, October 30, 2015

ชื่อเรียกตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูไทย

" ชื่อเรียกตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูไทย "
เรียบเรียงและแปลโดย ดร. จันทร์พา ทัดภูธร
เรียบเรียงค้นคว้ามาแชร์เป็นวิทยาทานครับ
เคยสังสัยไหมครับว่า ค.ส. ย่อมาจากคำว่าอะไร และครู ค.ศ. 3 จะแปลเป็นภาอังกฤาว่าอย่างไร และ พนักงานราชการ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า "Government Employee" ใช่หรือไม่
อยากรู้ ลองอ่านต่อสิครับ
ลองอ่านที่ผมค้นคว้า/เรียบเรียงมาสิครับแล้วจะกระจ่าง มากขึ้น
ผมอ้างอิงจากแหล่ง 3 แหล่ง คือ
1. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
2. ตามการระบุถึงใน พรบ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุลลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
3. พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557
ตามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551นั้น ได้มีการระบุถึงตำแหน่งของข้าราชการที่ทำงานสายวิชาการ (Knowledge Worker Positions) เอาไว้พอสมควร ทว่าในส่วนของข้าราชการครูนั้น เราควรยึดเอาตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 นะครับ
คำว่า ค.ศ. คือ คำย่อของ "ครูและบุคลากรทางการศึกษา" ตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 (Government Teachers and Education Personnel Act B.E. 2547 )
เข้าเรื่องเลยนะครับ
ครูอัตราจ้าง (Contract Teachers)
ครูผู้ช่วย (Assistant Teachers)
ครู ค.ศ 1 (Practitioner Level) หรือ ครูระดับปฏิบัติการ (K 1 Teachers)
ครูชำนาญการ (ค.ศ. 2) Professional Level Teachers (K 2 Teachers)
ครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ. 3) Senior Professional Level Teachers (K 3 Teachers)
ครูเชี่ยวชาญ (ค.ศ. 4) Expert Level Teachers (K 4 Teachers)
ครูเชียวชาญพิเศษ (ค.ศ. 5) Advisory Level Teachers (K 5 Teachers)
ส่วน พนักงานราชการ ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับคำแปลที่ว่า เป็น "government employee"
Would you like to be a government employee?
ส่วนครูผู้ช่วยคือ ครูประเภทหนึ่งครับ ผมและหลาย ๆ คน ขอแปลว่า assistant teacher
ซึ่งจะแตกต่างจาก คำว่า teaching assistant หรือ teacher's aide (TA) บางครั้งฝรั่งจะใช้คำว่า education assistant (EA) แปลง่าย ๆ ว่า ผู้ช่วยครู ครับ ยังไม่ได้เป็นครู
อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ก็มีตำแหน่งทางวิชาการเช่นกันครับ ที่ควรรู้มี
ตำแหน่งทางวิชาการ (Academic Titles)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Assistant Professor
รองสาสตราจารย์ Associate Professor
ศาสตราจารย์ Professor
ศาสตราจารย์กิตติคุณ, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Emeritus Professor
Dr. Janpha Thadphoothon

Tuesday, October 13, 2015

森進一-襟裳岬
北の街ではもう 悲しみを暖炉で
燃やしはじめてるらしい
わけのわからないことで
悩んでいるうちに
老いぼれてしまうから
黙りとおした 歳月を
拾い集めて 暖めあおう
襟裳の春は 何もない春です
日々の暮しはいやでも やってくるけど
静かに笑ってしまおう
いじけることだけが
生きることだと
飼い馴らしすぎたので
身構えながら話すなんて
ああおくびょうなんだよね
襟裳の春は 何もない春です
寒い友だちが 訪ねてきたよ
遠慮はいらないから 暖まってゆきなよ
" 港町ブルース"
By 森 進一
背 の びして見る海 峡 を 今日も汽笛が遠ざかる
         
あなたにあげた 夜 を かえして 港 港  函館  通り雨
流す涙で割る酒は だました男の味がする
あなたの影 を ひきずりながら 港 宮古 釜石  気仙沼

出船 入船   別れ船  あなた乗せない帰り船
うしろ姿も  他人のそら似   港 三崎  焼津に  御前崎

別れりゃ 三月  待ちわびる   女心のやるせなさ
明日はいらない 今夜が欲しい
港  高知  高 松  八 幡 浜
呼んでとどかぬ 人の名 を こぼれた酒と指で書く
海に涙 の ああ愚痴ばかり 港 別府 長 崎  枕 崎
女 心 の 残り 火 は  燃 えて身をやく桜 島
ここは 鹿児島  旅路 の果てか 港 港 町 ブルースよ
End
" 北 酒場 "

北の酒場通りには 
長い髮の女が似合う
ちょっとお人よしがいい
くどかれ上手な方がいい
今夜の恋はタバコの先に
火をつけてくれた人
からめた指が運命のように 心を許す
北の酒場通りには 
女を酔わせる恋がある
北の酒場通りには 
涙もろい男が似合う
ちょっと女好きがいい
瞳でくどける方がいい
夢追い人はグラスの酒と
思い出を飲みほして
やぶれた恋の数だけ 
人にやさしくできる
北の酒場通りには 
男を泣かせる歌がある
北国の春

白樺 青空 南風
こぶし咲くあの丘 北国のあゝ北国の春
季節が都会では わからないだろと
届いたおふくろの 小さな包み
あの故郷へ 帰ろかな帰ろかな
雪どけ せせらぎ 丸木橋
落葉松の芽がふく 北国のあゝ北国の春
好きだとおたがいに 言いだせないまま
別れてもう五年 あのこはどうしてる
あの故郷へ 帰ろかな帰ろかな
山吹 朝霧 水車小屋
わらべ唄聞える 北国のあゝ北国の春
あにきもおやじ似で 無口なふたりが
たまには酒でも 飲んでるだろか
あの故郷へ 帰ろかな帰ろかな

Wednesday, June 3, 2015

Monday, May 25, 2015

การทำงานคือดอกไม้ของชีวิต


การเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน

คนในภูมิภาคอาเซียนควรเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษาของกันและกัน


Wednesday, May 20, 2015

การศึกษาการเตรียมตัวและความพร้อมทางด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

ชื่องานวิจัย
" การศึกษาการเตรียมตัวและความพร้อมทางด้านการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซ๊ยนในปี พ. ศ. 2558"


งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก ศูนย์วิจัย แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ หาอ่านได้จาก

http://libdoc.dpu.ac.th/research/149789.pdf


วัตถุประสงค์ (Aim)

- ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความพร้อม(Readiness) และการเตรียมตัว (Preparation) ทางด้านการศึกษา (Education) เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อย่างไร และมีความพร้อม มาก-น้อยเพียงใด

- นำเสนอข้อเสนอแนะทั้งในเชิงนโยบายและการดำเนินงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย


วิธีการศึกษา (Method)   -- งานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)

อาศัยข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายเช่น รายงาน เอกสาร (Desk Study)
การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (Interviews of experts)

ผู้เชี่ยวชาญที่ 4 ท่านได้แก่

1. ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล (สัมภาษณ์วันที่ 10 มิถุนายน 2554)
2. นายเทพชัย หย่อง (ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส)
3. ดร. วรัยพร แสงนวบวร (ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการศึกษาระหว่างประเทศ สภาการศึกษา)
4. รศ. ดร. วิทยา จีระเดชากุล (ผู้อำนวยการ SEAMEO Secretariat) สัมภาษณ์วันที่ 13 มีนาคม 2555)


ผลการศึกษาโดยสังเขป (Summary of Findings)


ชาติสมาชิกทั้ง 10 อันได้แก่

1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (The Kingdom of Cambodia)
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (The Republic of Indonesia)
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)
5. สหพันธรัฐมาเลเซีย (The Federation of Malaysia)
6. สหภาพเมียนมาร์ (The Union of Myanmar)
7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (The Republic of the Philippines)
8. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
9. ราชอาณาจักรไทย (The Kingdom of Thailand)
10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Viet Nam)


ต่างมีการเตรียมตัวในเชิงนโยบายเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

มีความพร้อมมาก-น้อยแตกต่างกัน

จากการศึกษาค้นคว้า สรุปได้ว่า สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของภูมิภาคอาเซียนจะเกิดการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลมาจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และภูมิภาคภิวัตน์ (Globalization and Rationalization)



การพิจารณาถึงการเตรียมตัวและความพร้อมทางด้านการศึกษา ผู้วิจัยกำหนดกรอบการวิจัยในการศึกษาเอาไว้ 7 ด้านคือ

1. ด้านนโยบายทางการศึกษา (National Policy)
2. ด้านความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา (Teachers)
3. ด้านหลักสูตรและเนื้อหา (Curriculum and Contents)
4.  ด้านการสอน (deliveries)
5. ด้านการบริหารจัดการทางการศึกษา (Management)
6. ด้านสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา (Environment)
7. ด้านคุณภาพของนักเรียน - นักศึกษา

1. .ในส่วนของนโยบายทางการศึกษาระดับประเทศนั้น พบว่าทุกประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยมองว่าการพัฒนาคนในชาติคือการพัฒนาประเทศ ทุกชาติสมาชิกมีการระบุถึงการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ยกตัวอย่างของประเทศไทย ไทยมีการกำหนดคุณลักษณะของพลเมืองที่พึงประสงค์เอาไว้ในแผนการศึกษาของชาติ หลักสูตรแกนกลาง ที่เน้นการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพัฒนากระบวนการคิด ทักษะชีวิต เป็นต้น

2. ด้านความพร้อมและการเตรียมตัวของบุคคลากรทางการศึกษา ครูยังมีความพร้อมน้อยในเรื่องความรู้และทักษะอาเซียน ยกเว้นบางประเทศที่มีความพร้อมสูงเช่น สิงคโปร์ บรูไนหรือมาเลเซีย

ในประเด็นนี้พบว่า บางประเทศมีงบประมาณในการพัฒนาครูน้อย ครู/อาจารย์ได้รับเงินเดือนและผลตอบแทนไม่มากนัก

อีกประเด็นคือ บทบาทของครูที่เปลี่ยนแปลงไป จากการมีบทบาทสูงมาสู่การมีบทบาทแคบกว่าเดิม

3. ด้านหลักสูตรและเนื้อหา พบว่ามีการบูรณาการสาระเกี่ยวกับอาเซียนในรายวิชา เช่นของประเทศไทย โรงเรียนตามชายแดนเริ่มสอนภาษาอาเซียน

หลักสูตรระดับปฐมศึกษาของสิงคโปร์ มุ่งเน้นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่นักเรียน เน้นการปลูกฝังความรับผิดชอบให้กับเด็ก พร้อม ๆ ไปกับการให้ความรู้ทางวิชาการ

4. การสอน พบว่าส่วนใหญ่ยังเน้นการสอนแบบดั้งเดิมคือยึดเอาครูเป็นศูนย์กลาง (teacher-centered instruction) มีการใช้เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร้กี่ยวกับกิจกรรมของอาเซียนให้พลเมืองของตนเองได้รับรู้

5. ด้านการบริหารจัดการ พบว่า ทุกประเทศมีระบบการบริหารการศึกษาที่สอดรับกับนโยบายทางการศึกษาของชาติ

ชาติสมาชิกมีปัญหาและอุปสรรค ความท้าทายที่แตกต่างกัน อินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่ และมีลักษณะประเทศเป็นเกาะมากมาย มีจำนวนนักเรียนมาก จึงประสบปัญหาการบริหาร การจัดสรรงบประมาณ หากเทียบกับมาเลเซียที่มีความคล่องตัวมากกว่า

6. ด้านสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

7. ด้านคุณภาพของการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกัน ในมิติของภาษาอังกฤษ โอกาสในการเรียนรู้และศึกษาต่อ การเข้าถึงการศึกษา บางประเทศ เช่น สิงคโปร์มีผลการสอบตามที่วัดโดยข้อสอบมาตรฐานระหว่างประเทศสูง เช่นผลสอบ PISA

ในส่วนของการสอนและด้านสาระนั้น งานวิจัยนี้ได้เสนอโมเดลเพื่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ของไทย ดังนี้

1. ภาษาและวัฒนธรรม (Languages and Cultures)
2. ความรู้ (Knowledge)
3. ทักษะที่จำเป็นสำหรับประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
4. ความเชื่อและเจตคติ (Beliefs and Attitudes)

การสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนหมายถึงการที่พลเมืองอาเซียนมีความรู้และทักษะทางภาษาที่หลากหลาย นโยบายเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทุกประเทศเน้นการเรียนการสอนภาษาสากล เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยการเรียนรู้ภาษาประจำชาติและให้ความสำคัญกับภาษาถิ่นในชาติของตน

สำหรับบริบทของไทยเรานั้น เราควร

"อนุรักษ์ภาษาถิ่น เช่น ภาษาเยอ ญอ กุย
เก่งภาษาไทย
ได้ภาษาอังกฤษ (หรือภาษาสากลอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน หรือญี่ปุ่น)
กระชับมิตรฟุตฟิตภาษาเพื่อนบ้าน"


การเตรียมความพร้อมทางด้านความรู้หมายถึงความรู้ในเนื้อหาวิชา ทั้งวิชาพื้นฐานและวิชาเฉพาะ เช่นความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับอาเซียนเช่น กฎบัตรอาเซียน  ความรู้ที่ว่านี้นั้นยังรวมความถึงความรู้เกี่ยวกับชาติของตนเอง ประวัติศสตร์ องค์ประกอบของรัฐ เช่นของไทยก็ควรรู้เรื่องเมืองไทยอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์


ในส่วนของทักษะอาเซียนและทักษะสากลนั้น หมายถึง ทักษะข้ามพิสัยต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ การมีจิตอาสา การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ทักษะไอซีที (ICT skills) การเจรจาต่อรอง การสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง เป็นต้น ทักษะเหล่านี้สำคัญมากในการพัฒนาพลเมืองของแต่ละประเทศ พบว่าในหลักสูรและนโยบายของทุกประเทศในอาเซียนเน้นการพัฒนาทักษะเหล่านี้ นอกเหนือไปจากความรู้ทางวิชาการและเนื้อหาวิชา


ที่สำคัญไม่แพ้ความรู้และทักษะคือ เจตคติและความเชื่อ การศึกษาครั้งนี้พบว่า ความเชื่อและเจตคติของประชาชน พลเมืองในชาติมีความสัมพันธ์สูงต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศนั้น ๆ เช่น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ มีทัศนคติทางบวก หรือทางที่ดีต่อการสร้างประชาคมอาเซียนเนื่องจาก พลเมืองของทั้งสองชาติมองเห็นโอการในการเดินทางทำมาหากินในภูมิภาค พลเมืองชาวฟิลิปปินส์มีความสามารถทางภาษาอังกฤษดีโดยเฉลี่ย และมีค่านิยมในการเดินทางเพื่อแสวงหาโอกาสในชีวิตมานานแล้ว ฟิลิปปินส์จึงมีความพร้อมสูงไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือประชาคมโลก

ในมิติของเจตคติและความเชื่อนี้ ยังหมายถึงความคิดเห็น ความเชื่อที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ต่อส่วนรวมของชาติและของอาเซียน


สรุป

สิ่งที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือการได้มาซึ่งกรอบความคิดในการอธิบายองค์ประกอบของการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า ในทางการศึกษาทุกชาติสมาชิกมีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศให้สอดรับการการเปลี่ยนแปลงของโลกและของภูมิภาค งานวิจัยยังนำเสนอองค์ประกอบทั้งสี่ด้านของการพัฒนาพลเมืองอาเซียน

หากต้องการสร้างพลเมืองที่มีสมรรถนะ ทั้ง 4 ด้าน สิ่งที่แต่ละชาติควรทำในมิติของการศึกษา คือ การพัฒนาในเชิงรุกในมิติต่อไปนี้ กล่าวคือ สาระ การสอน การบริหารจัดการและสิ่งแวดล้อม

ทุกชาติสมาชิกต่างเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่การบูรณาการในระดับภูมิภาคหรืออาเซียน ในมิติที่หลากหลาย ทุกประเทศให้ความสำคัญสูงในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองของตน กลไกของอาเซียนเองก็ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การติดต่อไปมาหาสู่กับ เช่นการยกเว้นวีซ่า การจัดบริการรถสาธารณะระหว่างชาติสมาชิก เป็นต้น


อ้างอิง

http://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/news/6i5jbv99usg0so.pdf

http://libdoc.dpu.ac.th/research/149789.pdf





Inversion in English คืออะไร

Inversion คืออะไร   โดย ผศ. ดร. จันทร์พา ทัดภูธร หนึ่งในหัวข้อทาง Grammar ที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษควรรู้คือ Inversion หรือการสลับตำแหน่งของคำ ห...