Friday, January 29, 2016

สาระความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู (Domains and Competencies Required for Acquiring the Teaching License in Thailand)

Nine Domains มี 9 กลุ่มสาระ ดังนี้ครับ

Domain No. 1: Language and Technology for Teachers
สาระความรู้ ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู

(๑)  ภาษาไทยสำหรับครู

(๒)  ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ สำหรับครู

(๓)  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

สมรรถนะ Competencies
(๑)  สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย

      เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

(๒)  สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษหรือ ภาษาต่าง
      ประเทศอื่นๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

(๓)  สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน


2.
Domain No. 2: Curriculum Development

สาระความรู้
(๑)  ปรัชญา แนวคิดทฤษฎีการศึกษา

(๒)  ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย

(๓)  วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย

(๔)  ทฤษฎีหลักสูตร

(๕)  การพัฒนาหลักสูตร

(๖)  มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร

(๗)  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

(๘)  ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร


สมรรถนะ Competencies

(๑)  สามารถวิเคราะห์หลักสูตร

(๒)  สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย

(๓)  สามารถประเมินหลักสูตรได้ทั้งก่อนและหลังการใช้หลักสูตร

(๔)  สามารถจัดทำหลักสูตร


3.
Domain No. 3 Learning Management

สาระความรู้
(๑)  ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน

(๒)  รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน

(๓)  การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

(๔)  การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้

(๕)  การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม

(๖)  เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้

(๗)  การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้

(๘)  การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

(๙)  การประเมินผลการเรียนรู้

สมรรถนะ Competencies

(๑)  สามารถนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาค

(๒)  สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

(๓)  สามารถเลือกใช้ พัฒนาและสร้างสื่ออุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

(๔)  สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจำแนกระดับการเรียนรู้ ของผู้
       เรียนจากการประเมินผล


4.
Domain No. 4 Psychology for Teachers


สาระความรู้
(๑)  จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์

(๒)  จิตวิทยาการศึกษา

(๓)  จิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา

สมรรถนะ Competencies

(๑)  เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน

(๒)  สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตน

(๓)  สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(๔)  สามารถส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน



5.
Domain No. 5 Education Management and Evaluation

สาระความรู้
(๑)  หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา

(๒)  การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษา

(๓)  การประเมินตามสภาพจริง

(๔)  การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน

(๕)  การประเมินภาคปฏิบัติ

(๖)  การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม

สมรรถนะ Competencies

(๑)  สามารถวัดและประเมินผลได้ตามสภาพความเป็นจริง

(๒)  สามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร


6.

Domain : Classroom Management

สาระความรู้
(๑)  ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

(๒)  ภาวะผู้นำทางการศึกษา

(๓)  การคิดอย่างเป็นระบบ

(๔)  การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร

(๕)  มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

(๖)  การติดต่อสื่อสารในองค์กร

(๗)  การบริหารจัดการชั้นเรียน

(๘)  การประกันคุณภาพการศึกษา

(๙)  การทำงานเป็นทีม

(๑๐)  การจัดทำโครงงานทางวิชาการ

(๑๑)  การจัดโครงการฝึกอาชีพ

(๑๒)  การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา

(๑๓)  การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

(๑๔)  การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน



สมรรถนะ (Competencies)

(๑)  มีภาวะผู้นำ

(๒)  สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน

(๓)  สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ

(๔)  สามารถในการประสานประโยชน์

(๕)  สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ




7.
Domain: Educational Research

สาระความรู้

(๑)  ทฤษฎีการวิจัย

(๒)  รูปแบบการวิจัย

(๓)  การออกแบบการวิจัย

(๔)  กระบวนการวิจัย

(๕)  สถิติเพื่อการวิจัย

(๖)  การวิจัยในชั้นเรียน

(๗)  การฝึกปฏิบัติการวิจัย

(๘)  การนำเสนอผลงานวิจัย

(๙)  การค้นคว้า ศึกษางานวิจัยในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

(๑๐)  การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา

(๑๑)  การเสนอโครงการเพื่อทำวิจัย




สมรรถนะ (Competencies)

(๑)  สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน

(๒)  สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน การสอนและพัฒนาผู้เรียน




8. Education Innovation and Information Technology

สาระความรู้
(๑)  แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ

       การเรียนรู้

(๒)  เทคโนโลยีและสารสนเทศ

(๓)  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ

(๔)  แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

(๕)  การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม

สมรรถนะ (Competencies)

(๑)  สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียน

       เกิดการเรียนรู้ที่ดี

(๒)  สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี

(๓)  สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน


9.
Domain : Teacher Professionalism

สาระความรู้ ความเป็นครู (Professionalism)

(๑)  ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู

(๒)  พัฒนาการของวิชาชีพครู

(๓)  คุณลักษณะของครูที่ดี

(๔)  การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู

(๕)  การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

(๖)  การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ

(๗)  เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

(๘)  จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

(๙)  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

สมรรถนะ

(๑)  รัก เมตตา และปรารถนาดีต่อผู้เรียน

(๒)  อดทนและรับผิดชอบ

(๓)  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ

(๔)  มีวิสัยทัศน์

(๕)  ศรัทธาในวิชาชีพครู

(๖)  ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู


Source: http://site.ksp.or.th/about.php?site=testingeva&SiteMenuID=35

Monday, January 18, 2016

คนไทยต้องเปลี่ยนแนวคิดทางการศึกษา

"Thais Must Change View on Learning"
คนไทยต้องเปลี่ยนแนวคิดทางการศึกษา"
ผู้เขียนบทความคือ อาจารย์ Pattamawan Jimarkon Zilli


ข้อสังเกตการใช้ view กับ point of view เราใช้
Point of view แสดงมุมมองของบุคคล
We understand your point of view. เราเข้าใจมุมมองของท่าน
I tried to see things from Tim's point of view. ผมพยายามเข้าใจสิ่งต่างๆ จากมุมมองของทิม
ใช้ View / opinion เวลาพูดถึงความเชื่อ แนวคิด ของบุคคล (อย่าใช้ Point of view)
เช่น
Tim's view is that Thais must change their culture.
แนวคิดของทิมก็คือว่าคนไทยต้องเปลี่ยนวัฒนธรรม
การเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่ใช้เรื่องเล็กน้อยครับ
If you want my honest opinion, I don't think it will work.
หากคุณต้องการความคิดของผมที่แท้จริงแล้ว ผมบอกได้เลยว่า มันไม่ได้ผลหรอก
บทความจาก Bangkok Post (18 Jan 2016) p. 10


แม้ผู้เขียนจะไม่ได้เสนออะไรใหม่ แต่ก็ยังดีที่ได้ยินการพูดถึงการเปลี่ยนมุมมอง Mindset ทางการศึกษา ผู้เขียนไม่ได้บอกว่าต้องเปลี่ยนอย่างไร

Thursday, January 14, 2016

32.5% of the teachers' working time --- มากหรือน้อย?

ฺBangkok Post (14 Jan 2016) p. 4 รายงานโดย Danrongkiat Mala น่าสนใจครับ
32.5% of the teachers' working time --- มากหรือน้อย?


เขามีการสำรวจการใช้เวลาของครูไทย โดย The Quality Learning Foundation ระหว่างวันที่ 26 ธันว่คม 2015 - 5 มกราคม 2016 ทีผ่านมา เป็นการสำรวจครูไทยจำนวน 319 คน
ผลการสำรวจชี้ ครูไทยใช้เวลานอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียนน้อยลงในปี 2015 เมื่อเทียบกับปี 2014
ไม่ได่บอกว่าเป็นการสุ่มหรือไม่ อย่างไร แต่พบว่า ครูไทย (ไม่ได้บอกอีกว่าเป็นครูเอกชน รัฐบาล ม. ต้น หรือ ม. ปลาย) ชายกี่ คน หญิงกี่คน ใช้เวลาที่ไม่ใช่การสอนในชั้นเรียน 32.5% น่าจะเป็นการชี้ว่าครุสอนในห้องเรียนมากเกินไป หรือครูมีเวลาเตรียมการสอนน้อยเกินไปใช่หรือไม่
คำว่าใช้เวลา คือ to spend time เช่น How do you spend your time? คุณใช้เวลาของคุณอย่างไร

Friday, January 8, 2016

มารยาทในการสื่อสารในภาษาเวียดนามที่เราควรรู้ - อีกมิติของการเตรียมความพร้อมสู้ประชาคมอาเซียน



มารยาทในการสื่อสารในภาษาเวียดนามที่เราควรรู้ - อีกมิติของการเตรียมความพร้อมสู้ประชาคมอาเซียน
จันทร์พา ทัดภูธร
สิ่งที่คนไทยควรรู้และเข้าใจคือการให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารและการกินของคนเวียดนาม
ในภาษาไทย เราเรียกคนที่ใจดี หรือ kind ว่า คนจิตใจดี แต่
คนเวียดนามเรียกว่า คนท้องดี người tốt bụng เงื่อย ต๊ด บุ๊ง
คำว่า tốt ต๊ด แปลว่า ดี / bụng บุ๊ง แปลว่า ท้อง
เช่นเดียวกับคน ลาว / ไทย คนเวียดนามนิยมทักทายกันว่า ทานข้าวแลัวหรือยัง
Anh ăn cơm chưa ? อาน อัง เกิ่ม จั่ว -- ทานข้ามแล้วหรือยัง
คนอีสาณ/ลาว นิยมเอิ้นกันกินเข่า ว่า กินเข่างายแล้วไป๋


หากไปเที่ยวเวียดนาม อย่าลืมพูดว่า rất ngon ซึ๊ด งอน -- อร่อยมาก หรือ งอน ลัม - อร่อยมากเช่นกัน
ไปฉลองปีใหม่ที่ไหน - คนเวียดนามมักถามกัยว่า ไปกินปีใหม่ที่ไหน อัง เต๊ต เอ๋อ เด่า
มารยาทของคนเวียดนามคือ จะไม่พูดว่าไม่ชอบอาหาร เช่นจะไม่พูดว่า ฉันไม่ชอบกิน (โดย คง ธิช อั่ง) แต่เลือกจะพูดว่า ฉันไม่รู้ว่าจะกินอย่างไร (โดต คง เบี๊ยต อั่ง )
เวลาไปเดินตลาด หากลองชิมอาหารเขาแล้ว ควร ชม หรือ ซื้อ หรือ ทั้งชมและซื้อ คนขายจะเสียใจมากหากเราทำหน้าตาแสดงออกว่าไม่อร่อย ไม่ชมและไม่ซื้อ อย่างที่บอกครับ เรื่องของการกิน และ อาหาร คนเวียดนามถือเป็นเรื่องใหญ่มากครับ

ผมไปเวียดนาม แค่ 2-3 ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ไป สังเกตได้ถึงการให้ความสำคัญกับอาหารการกินของคนเวียดนามครับ ครั้งแรกที่ไป ไปมหาวิทยาลัยในฮานอย มีมีนักศึกษาเวียดนามเอาขนมมาให้ลองชิม เขาดีใจมากที่ผมบอกไปว่าอาหารอร่อยมาก จริง ๆ แล้ว โด๋ อั่ง
เวียด นาม เซิ๊ด งอน

เวลาไปทานอาหารที่เวียดนาม ทานเสร็จ อย่าลืมบอกคนทำ/ขายด้วยนะครับว่า สุดอร่อย หรือ สุดงอน

Sunday, January 3, 2016

Summary of the 2015 Thailand's MOE Performance Report

Summary of the MOE 2015 Performance Report

เท่าที่จับใจความได้นะครับ

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายว่าท่านใช้หลักการทางศาสนาพุทธในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาการศึกษาของไทย

ฯพณฯ ย้ำว่า ท่านนายกรัฐมนตรีฝากเรื่องต่าง ๆ ทางการศึกษาอยู่เป็นประจำ

ประเด็นที่พอจับใจความได้คือจุดเน้นการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 ด้าน คือ



ภาพประกอบ จากรายการโทรทัศน์ของ คสช. (3 ม.ค. 2559)


1. หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้  เพื่อแก้ปัญหา เด็กไทยเรียนในห้องเรียนมากจนเกินไป และผลสัมฤทธิ์ต่ำ (ป. 1 อ่านหนังสือไม่ได้) โดยใช้แนวทางการปฏิรูปหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา



ภาพประกอบ จากรายการโทรทัศน์ของ คสช. (3 ม.ค. 2559)


อนึ่ง ได้ข่าวมาว่าจะให้มีการตั้งกรมวิชาการ,

- โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, ปี 58 เริ่ม 3 800 โรง ปี 59 ให้เพิ่มเป็น 10000 โรง

 - แนวการสอนแบบใหม่ ๆ เช่น STEM Education,
- กระบวนการ BBL,
ทวิศึกษา ของอาชีวะฯ รัฐ+ เอกชน

- การจัดทำมาตรฐานภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน



2. ครู  เพื่อแก้ปัญหาหลัก ๆ 3 ประการคือ
- ครูไม่ครบชั้น
- ขาดเทคนิคการสอน + ขาดความเชี่ยวชาญในสาระการสอน (สอนไม่ตรงเอก)
-  ภาระงานเยอะ (ขาดขวัญและกำลังใจ)

โดยมีแนวทางดำเนินงาน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

- ระยะสั้น --- เชิญครูเกษียณแล้วกลับเข้ามาช่วยสอน ปี 59 จำนวน 1097 ปี 60 - 10000 คน


- ระยะยาว - โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (คพท)
หาเด็กเก่งเรียนครู ให้กู้ กยศ. เรียนจบ 5 ปี เกรด 3 ขึ้นไป เป็นครูในท้องถิ่น ไม่ต้องสอบครูผู้ช่วยครับ

โครงการคือผลิตปีละ 4000 - 10 ปี ได้ 4 หมื่น

ฯพณฯ ให้นโยบายว่า หากเก่งภาษาอังกฤษจะเปิดโอกาสให้ไปต่อโทเมืองนอกครับ

3. การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา
(เวลาน้อยจึงไม่ได้พูดถึง)

4. ผลิต พัฒนากำลังคนและการวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

5. ICT เพื่อการศึกษา

6. การบริหารจัดการ


ในส่วนของการแก้ปัญหาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย
- ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ (ป. 1) ฯพณฯ รายงานว่าผลการดำเนินการแก้ปัญหาได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ
- เด็กนักเรียนไทย คิดวิเคราะห์ไม่เก่ง โดยอ้างผลการสอบ PISA ของ ม. 3 วิชาคณิตศาสนตร์ การอ่าน การวิเคราะห์


ภาพประกอบ จากรายการโทรทัศน์ของ คสช. (3 ม.ค. 2559)

- เด็กไทยเรียนเยอะเกินไป มีตัวเลขเป็นแผนภูมิอ้างครับ

ฯพณฯ พูดถึงการแก้ปัญหาของครู และโรงเรียนขนาดเล็ก ฯพณฯ บอกว่า ในส่วนของผลสอบ PISA นั้น บางโรงเรียนมีคะแนนสูง หลายแห่งคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 60 % ของคะแนนที่ตำ่คือคะแนนจากนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก

ฯพณฯ แถลงผ่านสื่อถึงการใช้ "ครูตู้" ในการแก้ปัญหาของครู ผ่าน DLTV

Reference:

National Council for Peace and Order (2016, January 3). "Thailand Moves Forward Program" (Television Broadcast). Bangkok: The Television Pool of Thailand.



Friday, January 1, 2016

โชคและชะตาชีวิต ตามแนวคิดของพุทธศาสนา (Good luck and Fate)

โชคและชะตาชีวิต ตามแนวคิดของพุทธศาสนา (Good luck and Fate)
ปีใหม่มาถึงอีกครา สิ่งที่เรามักได้ยิน และพบเห็นคือการแก้กรรม หวาดวิตกเกี่ยวกับโชคชะตาชีวิตของตัวเอง บางครั้งรู้สึกสลดใจที่เห็นชาวพุทธมีวิถีความเชื่อเช่นนั้น การที่ชาวพุทธบางส่วนหันไปยึดถือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็น ศิลปะชั้นต่ำ (Low Arts) นั้นมีมานานแล้ว เคยสงสัยไหมครับว่าพุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องหมอดู การทำทายโชคชะตา อย่างไร พุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับเรื่องของพลังวิเศษและการบอกอนาคตอย่างไร
หนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่ง “Good Question Good Answer” โดย S. Dhammika ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อถือเรื่องเหล่านี้เอาไว้
คำถามที่เราควรรู้คือ พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับโชคและชะตาชีวิตไว้ว่าอย่างไร
( What did the Buddha teach about magic and fortune telling? )
คำตอบ:
พระพุทธเจ้าถือว่าบรรดาการกระทำทั้งหลาย เช่นการทำนายโชคชะตา การใส่เครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ การยึดถือตำแหน่งและตัวเลขในการก่อสร้างต่างๆ การกำหนดวันเวลาในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (การถือฤกษ์งามยามดี)เหล่านี้พระพุทธเจ้าถือว่าเป็น ความเชื่อถือทางไสยศาสตร์ที่ไร้ประโยชน์ (useless Superstitions ) ทรงถือว่าเป็นศิลปะชั้นต่ำและทรงห้ามพระสาวกของพระองค์ ห้ามประพฤติปฏิบัติ
ตั้นฉบับภาษาอังกฤษ คือ The Buddha considered such practices as fortune telling, wearing magic charms for protection, fixing lucky sites for building, prophesizing and fixing lucky days to be useless superstitions and he expressly forbids his disciples to practice such things. He calls all these things 'low arts.'
"Whereas some religious men, while living of food provided by the faithful make their living by such low arts, such wrong means of livelihood as palmistry, divining by signs, interpreting dreams... bringing good or bad luck... invoking the goodness of luck... picking the lucky site for a building, the monk Gotama refrains from such low arts, such wrong means of livelihood."
D.I, 9-12
เราคุ้นเคยกับคำสอนที่ว่า ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้

Sounds Problems after Using Window 11 (Me Only?)

  I have to do this after Window  Version 11 has been installed into my machine. For one ---- Screen capturing vuia PRTSCR has GONE? There a...