Friday, January 1, 2016

โชคและชะตาชีวิต ตามแนวคิดของพุทธศาสนา (Good luck and Fate)

โชคและชะตาชีวิต ตามแนวคิดของพุทธศาสนา (Good luck and Fate)
ปีใหม่มาถึงอีกครา สิ่งที่เรามักได้ยิน และพบเห็นคือการแก้กรรม หวาดวิตกเกี่ยวกับโชคชะตาชีวิตของตัวเอง บางครั้งรู้สึกสลดใจที่เห็นชาวพุทธมีวิถีความเชื่อเช่นนั้น การที่ชาวพุทธบางส่วนหันไปยึดถือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็น ศิลปะชั้นต่ำ (Low Arts) นั้นมีมานานแล้ว เคยสงสัยไหมครับว่าพุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องหมอดู การทำทายโชคชะตา อย่างไร พุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับเรื่องของพลังวิเศษและการบอกอนาคตอย่างไร
หนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่ง “Good Question Good Answer” โดย S. Dhammika ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อถือเรื่องเหล่านี้เอาไว้
คำถามที่เราควรรู้คือ พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับโชคและชะตาชีวิตไว้ว่าอย่างไร
( What did the Buddha teach about magic and fortune telling? )
คำตอบ:
พระพุทธเจ้าถือว่าบรรดาการกระทำทั้งหลาย เช่นการทำนายโชคชะตา การใส่เครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ การยึดถือตำแหน่งและตัวเลขในการก่อสร้างต่างๆ การกำหนดวันเวลาในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (การถือฤกษ์งามยามดี)เหล่านี้พระพุทธเจ้าถือว่าเป็น ความเชื่อถือทางไสยศาสตร์ที่ไร้ประโยชน์ (useless Superstitions ) ทรงถือว่าเป็นศิลปะชั้นต่ำและทรงห้ามพระสาวกของพระองค์ ห้ามประพฤติปฏิบัติ
ตั้นฉบับภาษาอังกฤษ คือ The Buddha considered such practices as fortune telling, wearing magic charms for protection, fixing lucky sites for building, prophesizing and fixing lucky days to be useless superstitions and he expressly forbids his disciples to practice such things. He calls all these things 'low arts.'
"Whereas some religious men, while living of food provided by the faithful make their living by such low arts, such wrong means of livelihood as palmistry, divining by signs, interpreting dreams... bringing good or bad luck... invoking the goodness of luck... picking the lucky site for a building, the monk Gotama refrains from such low arts, such wrong means of livelihood."
D.I, 9-12
เราคุ้นเคยกับคำสอนที่ว่า ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้

No comments:

Post a Comment

Why Write Tanka?

Why Write Tanka? By Janpha Thadphoothon I would like to introduce to you another poetic form from Japan – tanka. A tanka is a Japanese poem ...