Friday, January 8, 2016

มารยาทในการสื่อสารในภาษาเวียดนามที่เราควรรู้ - อีกมิติของการเตรียมความพร้อมสู้ประชาคมอาเซียน



มารยาทในการสื่อสารในภาษาเวียดนามที่เราควรรู้ - อีกมิติของการเตรียมความพร้อมสู้ประชาคมอาเซียน
จันทร์พา ทัดภูธร
สิ่งที่คนไทยควรรู้และเข้าใจคือการให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารและการกินของคนเวียดนาม
ในภาษาไทย เราเรียกคนที่ใจดี หรือ kind ว่า คนจิตใจดี แต่
คนเวียดนามเรียกว่า คนท้องดี người tốt bụng เงื่อย ต๊ด บุ๊ง
คำว่า tốt ต๊ด แปลว่า ดี / bụng บุ๊ง แปลว่า ท้อง
เช่นเดียวกับคน ลาว / ไทย คนเวียดนามนิยมทักทายกันว่า ทานข้าวแลัวหรือยัง
Anh ăn cơm chưa ? อาน อัง เกิ่ม จั่ว -- ทานข้ามแล้วหรือยัง
คนอีสาณ/ลาว นิยมเอิ้นกันกินเข่า ว่า กินเข่างายแล้วไป๋


หากไปเที่ยวเวียดนาม อย่าลืมพูดว่า rất ngon ซึ๊ด งอน -- อร่อยมาก หรือ งอน ลัม - อร่อยมากเช่นกัน
ไปฉลองปีใหม่ที่ไหน - คนเวียดนามมักถามกัยว่า ไปกินปีใหม่ที่ไหน อัง เต๊ต เอ๋อ เด่า
มารยาทของคนเวียดนามคือ จะไม่พูดว่าไม่ชอบอาหาร เช่นจะไม่พูดว่า ฉันไม่ชอบกิน (โดย คง ธิช อั่ง) แต่เลือกจะพูดว่า ฉันไม่รู้ว่าจะกินอย่างไร (โดต คง เบี๊ยต อั่ง )
เวลาไปเดินตลาด หากลองชิมอาหารเขาแล้ว ควร ชม หรือ ซื้อ หรือ ทั้งชมและซื้อ คนขายจะเสียใจมากหากเราทำหน้าตาแสดงออกว่าไม่อร่อย ไม่ชมและไม่ซื้อ อย่างที่บอกครับ เรื่องของการกิน และ อาหาร คนเวียดนามถือเป็นเรื่องใหญ่มากครับ

ผมไปเวียดนาม แค่ 2-3 ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ไป สังเกตได้ถึงการให้ความสำคัญกับอาหารการกินของคนเวียดนามครับ ครั้งแรกที่ไป ไปมหาวิทยาลัยในฮานอย มีมีนักศึกษาเวียดนามเอาขนมมาให้ลองชิม เขาดีใจมากที่ผมบอกไปว่าอาหารอร่อยมาก จริง ๆ แล้ว โด๋ อั่ง
เวียด นาม เซิ๊ด งอน

เวลาไปทานอาหารที่เวียดนาม ทานเสร็จ อย่าลืมบอกคนทำ/ขายด้วยนะครับว่า สุดอร่อย หรือ สุดงอน

No comments:

Post a Comment

Why Write Tanka?

Why Write Tanka? By Janpha Thadphoothon I would like to introduce to you another poetic form from Japan – tanka. A tanka is a Japanese poem ...