Tuesday, December 29, 2015

ใครได้ ใครเสีย จาก การรวมกลุ่มเป็น Asean Community

This essay discusses one of the most sensitive issues in international relations,  that is,  those standing to lose and those standing to benefit from the Asean bloc.

To answer this question,  we need to look into the history of the region.  We know that Asean is an invention.  Before the 20th century,  continental Asean is called " Indochina ",   known to the West.

After WWII Asean members were either  given independence or forced to fight for it.

Tuesday, December 22, 2015

ที่เมียนมามีการขายส้มตำไหม

"คนเมียนมาชอบทานอาหารไทยครับ" --- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำมะละกอ หรือ ส้มตำ
มีคนเคยถามผมว่า ที่เมียนมามีการขายส้มตำไหม
คำตอบคือ มี เคยข้ามฝั่งไปเมียนมาแถว ๆ กาญจนบุรี เข้าไปหมู่บ้านแห่งหนึ่งไปช่วยเขาขนดินสร้างเจดีย์ (เซดี ในภาษาเมียนมา) ชาวบ้านเขาทำส้มตำมาเลี้ยงครับ รสชาติไม่ต่างกับของไทยเรา มีปลาร้าด้วยครับ
ที่เมืองใหญ่ ๆ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ มอละแหม๋ง มีส้มตำขาย ที่เคยเห็นเป็นการขายโดยรถเข็น คำว่า ตำมะละกอ ภาษาเมียนมาคือ คำว่า ติงปอตี้โต๊บ มาจากคำว่า มะละกอ คือ ติงปอตี้ และ โต๊บ แปลว่า ตำ
ที่น่าสนใจคือ สำหรับคนเมียนมาแล้ว ตำมะละกอ ได้รับความนิยมมาก และมองว่า เป็นอาหารไทย หรือ ไทยอะซ้าอะซา (โยดะยาอะซ้าอะซา ตามภาษาเมียนมาโบราณ) คนเมียนมาชอบทานอาหารไทยครับ
ที่เห็นมีส้มตำขาย คือ ลาว กัมพูชา ไทย และเมียนมา ครับ
ที่กัมพูชา คนเขมร เรียกว่า บ๊ดละหุ่ง บ๊ด แปลว่า ตำ ส่วนละหุ่ง คือ มะละกอ (ภาษาลาว + อีสาณ เรียกว่า บักหุ่ง)
သင်္ဘောသီးသုပ်

Drama @ 2015 Miss Universe Pageant

Drama @ 2015 Miss Universe Pageant
มีคำศัพท์ แลพสำนวน ที่ควรรู้มาฝากครับ
A beauty pageant คือ A beauty contest (การประกวดนางงาม) นิยมใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ครับ แถวอังกฤษใช้ A beauty contest
" pageant " ออกเสียงว่า แพเจ้นท์
คำขอโทษของ Steve Harvey พิธีกร น่าสนใจครับ ลองมาดูพร้อม ๆ กันนะครับ
"OK, folks, I have to apologize. the first runner up is Columbia.
Miss Universe 2015 is Philippines."
คำว่า folks เป็นคำทักทายผู้ชมอย่างไม่เป็นทางการ ฝรั่งชอบใช้บ่อย ๆ
" I have to apologize" แปลว่า ผมต้องขออภัย
have to + V1 แปลว่า ต้อง เช่น I have to go now. ผมต้องไปแล้วตอนนี้
And the winner is ...หมายถึง ผู้ชนะคือ ...................
The first runner up แปลว่า รองอันดับหนึ่ง
The second runner up คือ รองอันดับ 2 --- ได้ที่ 3 นั่นเอง
ลองมาอ่าน Twitter ของ Steve Harvey กันนะครับ
"I'd like to apologize wholeheartedly to Miss Colombia & Miss Philippines for my huge mistake. I feel terrible."
I'd like to apologize wholeheartedly to Miss Colombia & Miss Philippines. ผมขอโทษนางงามฟิลิปปินส์ และนางงาม โคลัมเบีย จากใจทั้งหมดของผม
wholeheartedly แปลว่า ทั้งหมดของใจ (ก็น่าอยู่หรอก)
My huge mistake. แปลว่า ความผิดอันใหญ่หลวงของผม
I feel terrible. คำว่า Terrible แปลว่า แย่มาก -- ผมรู้สึกแย่มาก
Photo: Bangkok Post (22 Dec 2015)

Friday, December 18, 2015

"แม่ชีเดินเข้า 7-11" --- เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ

"แม่ชีเดินเข้า 7-11" --- เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ
เมื่อวานได้รุ้คำศัพท์ภาษาจีนกลาง 1 คำ คือคำว่า "เหลา" 楼 - Lóu
เห็นคนจีน 2-3 คนอยู่ในลิฟต์
ปกติถ้าเป็นฝรั่ง จะถามว่า ชั้นไหนครับ Which floor? 
แต่คนจีน ไม่ชัวร์ เลยถือโอกาส ถามว่า ชั้นไหน รู้ว่า ไหน คือ หนา Nǎ
"หนาเหลา" น่าจะหมายถึง ชั้นไหน จึงลองพูดดู คนจีนก็ยิ้ม ๆ บอกว่า ชีเหลา
(ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า หนาเหลา)
อ๋อ ชั้น 7 นี่เอง ก็เลยกดให้ คนจีนบอกขอบคุณ เชี้ยเชี้ยหนี่
ํYou're welcome" แบบจีนคือ Bù kèqì ปู้เก้อชี
การสื่อสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับต่างชาติ แท้จริงแล้วจีน-ไทย ใช่อื่นไกล
7 คือ ชี Qī หลักการจำ 7 มีหลายวิธี ให้มองให้เห็นภาพว่า มีแม่ชีเดินเข้าร้าน 7-11
ชี = 7
ส่วน เหลา 楼 - Lóu เพิ่งนึกออก ว่า เรารู้คำนี้ มานานแล้ว กินอาหาร เหลา คือ อาหารในตึก ในอาคาร ฉาเหลา คือ โรงน้ำชา เหลา แปลว่าชั้นของตึกก็ได้

ยังยืนยันว่า  แท้จริงแล้วจีน-ไทย ใช่อื่นไกล

เรียนภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องท่องจำ สามารถทำได้ครับ ที่สำคัญต้องกล้าพูด

Thursday, December 17, 2015

ครูไทยส่วนใหญ่มองว่า “ภาษาต่างประเทศ” สำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ครูไทยส่วนใหญ่มองว่า “ภาษาต่างประเทศ” สำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ผลสำรวจชี้ ครูไทยต้องการการพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศ
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ สำรวจความคิดเห็นครูทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,032 คน ระหว่างวันที่ 1-9 ธันวาคม 2558 เกี่ยวกับความคิดเห็นของครูไทยที่มีต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปลายปีนี้ 2558
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ครู” คิดอย่างไร? ต่อการศึกษาไทย กับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อันดับ 1 ทุกฝ่ายตื่นตัว เกิดการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียน 77.72%
อันดับ 2 เกิดการพัฒนาด้านภาษา การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน 73.24%
อันดับ 3 ภาครัฐให้ความส าคัญ ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษากับการเข้าสู่อาเซียน 71.56%
อันดับ 4 ความกระตือรือร้น สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น ได้ประสบการณ์ พัฒนาตัวเอง 63.85%
อันดับ 5 เด็กได้ประโยชน์ ได้ความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นการพัฒนาผู้เรียน 60.92%
2.“ผลดี-ผลกระทบ” ต่อ การศึกษาไทย กับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.1 “ผลดี” (Pros)
อันดับ 1 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดกว้างทางการศึกษาและวัฒนธรรม 80.65%
อันดับ 2 ทั้งครูและนักเรียนได้พัฒนาภาษาต่างประเทศ 70.06%
อันดับ 3 การศึกษาไทยก้าวหน้า พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น 68.35%
อันดับ 4 ครูมีคุณภาพมากขึ้น สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 57.79%
อันดับ 5 การศึกษากับเทคโนโลยีได้พัฒนาไปพร้อมๆกัน 53.19%
2.2 “ผลกระทบ” (Cons)
อันดับ 1 เกิดความเหลื่อมล้ำ ศักยภาพของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 84.40%
อันดับ 2 เรื่องของภาษาที่ยังไม่สามารถพูดได้หรือฟังได้อย่างคล่องแคล่ว 78.38%
อันดับ 3 ครูยังไม่พร้อม การจัดการศึกษายังไม่มีการบูรณาการเท่าที่ควร 69.60%
อันดับ 4 เกิดความกดดันเนื่องจากมีการแข่งขันสูงขึ้น 58.91%
อันดับ 5 การเปิด-ปิด ภาคเรียนไม่พร้อมกัน 42.88%
3. คุณสมบัติของ “ครูไทย” กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนควรเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 สื่อสารพูด-คุย ภาษาต่างประเทศได้ ใช้เทคโนโลยีเป็น 79.18%
อันดับ 2 พัฒนาตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม 76.05%
อันดับ 3 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาเซียน เช่น สังคม วัฒนธรรม การด ารงชีวิต 68.23%
อันดับ 4 จัดการเรียนการสอนให้น่าสนใจ บูรณาการไปสู่ความเป็นอาเซียน 66.37%
อันดับ 5 ขยัน อดทน เอาใจใส่ดูแลเด็ก รักในวิชาชีพครู 61.08%
4. “ครูไทย” ควรเตรียมตัวอย่างไร? กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อันดับ 1 ศึกษาหาความรู้ มีข้อมูลต่างๆของกลุ่มประเทศอาเซียน 81.20%
อันดับ 2 ติดตามข่าวสาร ความคืบหน้าสม่ าเสมอ 76.69%
อันดับ 3 พัฒนา ฝึกฝนด้านภาษาและเทคโนโลยี 71.11%
อันดับ 4 การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและทันสมัย 57.36%
อันดับ 5 เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่อาเซียน 50.48%
ที่มา: สวนดุสิตโพล

Monday, December 14, 2015

มิตทิลา เมืองแห่งใจกลางของเมียนมา

เมืองมิตทิลา เมืองแห่งใจกลางของเมียนมา

จันทร์พา ทัดภูธร
ป้ายหน้าร้านอาหารระหว่างทางเมืองมิตทิลา (Meitila)
ตามทางด่วน (อะเมี่ยนลาน) สายย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ ความยาวร่วม 577.65 กิโลเมตร
แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเมียนมา
ร้านอาหารสะอาด ห้องน้ำสะอาด จุดพักรถโดยสารขาล่องจากมัณฑะเลย์ ก่อนถึงเนปิดอร์
ป้ายบอกลูกค้าถึงประเภทของอาหารที่มีบริการครับ
ที่มา แผนที่จาก Google Map

เมียนมาอะซ้าอะซา - อาหารเมียนมา
โยดะยา อะซ้าอะซา - อาหารไทย
ตะย๊กอะซ้าอะซา - อาหารจีน
อีน - ชานอะซ้าอะซา - อาหารไทยใหญ่ (รัฐฉาน)
ยุโรป้าอะซ้าอะซา - อาหารยุโรป

ข้อสังเกต แถบใจกลางของเมียนมา ที่เรียกว่า พม่า (Bamar) นั้น ยังนิยมอ้างถึงไทยว่า โยดะยา แต่แถบทางตอนใต้ ย่างกุ้ง รัฐมอญ นิยมเรียกว่า ไทย
ชื่อเมืองตั้งชื่อตามนครในประวัติศาสตร์ของอินเดียโบราณครับ นั่นคือมิถิลานคร คงจำกันได้ถึงทศชาติชาดกเรื่อง พระมหาชนก ที่บอกเล่าถึงตอนที่พระมหาชนก็ว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรอันมองไม่เห็นฝั่ง อยู่ 7 วัน จนกระทั่ง ทางมณีเมขลา มาช่วยไว้ และอุ้มไปยังเมืองมิถิลานคร

Another set of pressing issues Thailand is facing: Equity in Society

Another set of pressing issues Thailand is facing: Equity in Society

Janpha Thadphoothon

(Photo: Bangkok Post, 14 December 2015)
I have read this article written by two Khnon Kaen University's lecturers: John Draper and Peerasit Kammuansilpa. This article expresses grave concerns over Thailand's racial tensions, as the kingdom is moving toward cosmopolitanism and multiculturalism. The situation we are in has been perceived and analyzed by many independent think-tanks as 'perilous' and, thus, prudent and immediate measures and dialogs within the kingdom and international partners are required, to avoid "a downward spiral of worsening ethnocentrism and xenophobia"



It must be noted that Writer: John Draper and Peerasit Kamnuansilpa are not new in voicing their concerns and opinions on various issues on human rights, earlier this year, one of their articles: "200,000 migrant kids deserve a chance" has been published by the Bangkok Post.
The article worth reading and contemplating upon. Read the full paper at the link below:

http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/793409/racial-tensions-face-perilous-tipping-point

Tuesday, December 8, 2015

การใช้คำว่า cũng (กุ๋ง) ในภาษาเวียดนาม

คำว่า CŨNG แปลว่า  " ก็ " เป็นคำกริยาวิเศษณ์ หรือ ADVERB
ใช้นำหน้าคำกริยาหลัก เช่น

Tôi cũng đi. โตย กุ๋ง ดี
ฉัน ก็ ไป

Ai cũng thích. ไอ กุ๋ง ธิ๊ช
ใครๆ ก็ ชอบ

Tôi cũng nghĩ vậy. โตย กุ๋ง ญี๋ เว๋ย
ฉันก็คิดเช่นนั้น

ซีดี แนะนำภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับคนขับรถแท็กซี่ Edition 2015


ซีดี แนะนำภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับคนขับรถแท็กซี่ Edition 2015 เปิดตัวแล้วครับ
โดย ชมรมเพื่อนแท็กซี่ดีพียู


Working with AI: Embracing Agency and Experience

Working with AI: Embracing Agency and Experience Janpha Thadphoothon In the realm of collaborating with AI agents, it's imperative to st...