Monday, January 8, 2024

 การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557, pp. 736-746

สังคมและวัฒนธรรม

อัตลักษณ์ของชาติและความขัดแย้ง

อาจารย์จันทร์พา ทัดภูธร

อาจารย์ประจําคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Faculty of Arts, Dhurakij Pundit University

บทความนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างอัตลักษณ์ของชาติและความขัดแย้งทางการเมืองโดยการ วิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางของพม่ากับชน กลุ่มน้อย ความขัดแย้งในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งในแค้วนแคชเมียร์ของอินเดีย ผู้เขียนได้นิยามว่าอัตลักษณ์ร่วม ของกลุ่มคนหรือชุมชนคือสาระหลักของวัฒนธรรม ในส่วนของข้อมูลนั้นผู้เขียนได้มาจากการวิเคราะห์ผลงานของเยกอร์ ไกดาร์

นักการเมืองและนักวิชาการชาวรัสเซียจากหนังสือที่เขาเขียนขึ้นมีชื่อว่า การล่มสลายของจักรวรรดิ บทเรียนสําหรับรัสเซีย

(Collapse of an Empire: Lessons for Modern Russia) ไกดาร์ได้เสนอแนวคิดว่าสาเหตุหลักที่จักรวรรดิ (empire) ล่ม

สลายคือการกําเนิดลัทธิชาตินิยม (nationalism) ภายใต้กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของชาติ ซึ่งก่อให้เกิดขบวนการต่อต้าน การปกครองจากอํานาจส่วนกลาง ผู้เขียนบทความนี้ ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนว่ายังต้อง เผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความท้าทายจากกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของชาติสมาชิก หลักจากที่ได้ แสดงให้เห็นถึงเหตุแห่งความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะธํารงรักษาอัตลักษณ์แห่งเผ่าพันธุ์ของตนเอาไว้แล้ว

ผู้เขียนยังได้นําเสนอแนวคิดในการบริหารความขัดแย้งดังกล่าว ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงแนวทางที่เสนอโดยฟรานซิส ฟูกุยามา (Fukuyama, 2014) โดยได้วิเคราะห์แนวทางของสหรัฐอเมริกาที่เน้นการหลอมวัฒนธรรมโดยอุปมาว่าอเมริกาเป็นดั่งเป้า หลอมทางวัฒนธรรม (Melting Pot) เป็นการละลายวัฒนธรรมเก่าแล้วหลอมขึ้นมาใหม่กับแนวทางของแคนาดา ภายใต้อุปมา ว่าแคนาดาคือโมเสคทางวัฒนธรรม (Cultural Mosaics) เป็นการคงรักษาวัฒนธรรมเดิมของแต่ละวัฒนธรรมเอาไว้โดย นําเสนอข้อสรุปที่อยู่ตรงกลางระหว่างแนวคิดทั้งสองขั้วนั่นคือ แนวคิดประสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สามารถอุปมา

ได้ดั่งเป้าหลอมที่ทํามาจากโมเสค (Mosaic Pot) เพื่อหล่อหลอมอัตลักษณ์ร่วมของชาติ

คําสําคัญ: อัตลักษณ์ของชาติความขัดแย้ง

1. บทนํา

การมีอยู่ของอัตลักษณ์นั้นมีความจําเป็น ทั้งในระดับบุคคลและระดับแนวคิดเช่น อัตลักษณ์ของกลุ่มบุคคล ชุมชนและของชาติ การกําเนิดเกิดขึ้นของรัฐย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดขึ้นพร้อมๆกับกระบวนการสร้างความรู้สึกร่วมกันของสมาชิก ข้อตกลงและเงื่อนไขในการสานฝันร่วมกัน ในเชิงบวกนั้นกระบวนการดังกล่าวช่วยลดความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชน

ในชาติเดียวกัน ฟรานซิส ฟูกุยามา ได้กล่าวว่าการสร้างอัตลักษณ์ของชาติถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการสร้างชาติ

(Kukuyama, 2014) รัฐชาติส่วนใหญ่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคล ชุมชน หรือแว่นแคว้นที่มักมีอัตลักษณ์ของตนเองปลูกฝังมา

อย่างเคยชินยาวนาน บ่อยครั้งที่ความพยายามของรัฐชาติ หรือจักรวรรดิในอดีต ต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างบรรทัด

ฐานและอุดมการร์ร่วมกัน หลายชาติในทวีปแอฟริกาประสบปัญหาในการสร้างอัตลักษณ์ของชาติเนื่องจากประกอบไปด้วย

เผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกัน

การสร้างอัตลักษณ์ของชาติ (national identity building) จึงเป็นสิ่งที่สําคัญในการดํารงอยู่ของรัฐชาติจุดมุ่งหมายใน

การเขียนบทความนี้คือการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์ของชาติกับความขัดแย้ง โดยการวิเคราะห์เอกสาร

(document analysis) ส่วนนี้เป็นการให้คํานิยามและจุดมุ่งหมายในการเขียนบทความนี้ ในส่วนของคํานิยามนั้นเป็นการ

นิยามมโนทัศน์ ของคําว่า อัตลักษณ์ของชาติ และ ความหมายของความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือการตีความสัญญะ (signs) ที่แตกต่างกันของบุคคลและกลุ่มคน

การตีความดังกล่าวขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ร่วมของกลุ่มคนอันเป็นความพยายามที่จะกําหนดลักษณะเฉพาะของตน


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


: สังคมและวัฒนธรรม 737

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มคน ไปจนถึงระดับชาติ (nation) เราอาจเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ความ

ขัดแย้งอันเกี่ยวเนื่องกับความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มตนเอง อนึ่งคําว่าสัญญะ นั้นหมายถึงอะไรก็ได้ที่ใช้เป็น

ตัวแทนของสิ่งอื่น ตราบเท่าที่มีความหมายต่อบุคคลตามศักยภาพที่เขามี (Chandler, 2002) ซึ่งการรับรู้ของบุคคลหรือกลุ่ม

คนนั้นไม่ใช่การรับรู้ทางตรง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และประวัติศาสตร์ รวมถึงบริบทในการตีความสัญญะ ไม่ว่าจะเป็นสัญญะ

ทางภาษา หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็ตาม

อัตลักษณ์ หรือ identity `หมายถึง การมีตัวตนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่แยกตนเองออกจากหน่วยอื่น ๆ

บุคคลย่อมมีความแตกต่าง มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อัตลักษณ์ของชาติคืออะไร เจมส์ เอ็ม เฮ็นสลิน (James M. Henslin)

ได้นิยามคําว่า อัตลักษณ์ของชาติ (national identity) ว่าเป็น แนวคิดทางจริยธรรมและปรัชญาแนวคิดหนึ่งของมนุษย์โดย

มนุษย์ทั้งหมดจะถูกแบ่งโดยสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ออกเป็นกลุ่ม ๆ และกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นมามีชื่อว่า ประเทศ (nations) จากคํา

นิยามดังกล่าวนี้เราอาจกล่าวได้ว่าอัตลักษณ์ของชาติคือแนวคิด หรือ construct อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการตีความ

สัญญะ ซึ่งคําว่าสัญญะหมายถึงอะไรก็ได้ที่เป็นตัวแทนของบางสิ่ง มีความหมายต่อบุคคลตามความสามารถของเขาในการรับรู้

อัตลักษณ์ของชาติมักประกอบไปด้วยอัตลักษณ์ของกลุ่มคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์

ลี ยุนมี ได้นิยามคําว่า อัตลักษณ์ของชาติ (national identity) ว่าคือ "การรับรู้ความแตกต่าง นั่นคือความรู้สึกและการ

รับรู้ที่แยกแยะระหว่าง เรา และ พวกเขา" เป็นความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหรือชาติหนึ่งชาติใด เป็นความรู้สึกที่ตัวบุคคลมี

ร่วมกับกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ไม่ว่าเขาจะมีสัญชาติใดก็ตาม อัตลักษณ์ประจําชาติ หรือของชาติ ไม่ได้เป็นลักษณะที่มีติดตัว

มาแต่กําเนิด แต่เป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังโดยสังคม เช่น การมีอัตลักษณ์ประจําชาติเมียนมาร์ ลาว ไทย และเขมร และสิ่งหนึ่งที่

สําคัญในการปลูกฝังก็คือการยึดถือในสัญญะร่วมกัน ตีความสัญญะไปในแนวทางเดียวกันหรือสอดคล้องกัน

ฟรานซิส ฟูกุยามา (Fukuyama, 20141) แยกอัตลักษณ์ของชาติ (national identity) ออกจากอัตลักษณฺของชาติ

พันธุ์ (ethnic identity) โดยมองว่าชาติ (nation state) เกิดจากการรวมตัวของกลุ่ม อาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มชา

ตอพันธุ์เขามองว่าความจงรักภักดีของคนในชาตินั้นมีอยู่สองประเภทคือความจงรักภักดีต่อชาติพันธุ์และต่อรัฐชาติ

จากคํานิยามข้างต้น เราสรุปได้ว่า อัตลักษณ์ของชาติไม่ได้เป็นลักษณะที่มีมาแต่กําเนิด แต่เกิดจากการสร้างขึ้นของ

สังคม (social construct) ในเชิงบวกนั้นการสร้างอัตลักษณ์ของชาติเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มคน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีความ

สามัคคีกัน เป็นการลดปัญหาความขัดแย้ง การสร้างอัตลักษณ์ของชาตินั้นเป็นการให้ความหมายกับสัญญะร่วม เช่น สัญลักษณ์

ประจําชาติ ภาษา ค่านิยมของชาติประวัติศาสตร์ของประเทศ จิตสํานึกแห่งชาติดนตรี การแต่งกาย อาหารและการพูด ส่วนใน

ด้านลบนั้นเป็นการสร้างความจงรักภัคดีต่ออัตลักษณ์ชาติพันธุ์มากจนลดความสําคัญของอัตลักษณ์ของชาติ หรือ การที่ความ

พยายามในการสร้างอัตลักษณ์ของชาติไปทําลายอัตลักษณ์ของกลุ่มคนหรือกลุ่ทชาติพันธุ์จนเกิดการต่อต้าน การมีอยู่ของกลุ่ม

และความพยายามในการธํารงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตามอาจนํามาซึ่งความขัดแย้งในหลายรูปแบบได้

ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวอาจเป็นความขัดแย้งระหว่างปัจเจกชนกับกลุ่มบุคคล หรือระหว่างกลุ่มบุคคลด้วยกันเอง

พจนานุกรม ความขัดแย้ง (Conflicts) หมายถึง การต่อสู้เพื่ออํานาจ, อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ (a struggle for power,

property, etc.) การโต้แย้งระหว่างกลุ่มคน ที่ส่งผลให้เกิดการขัดแย้งและโกรธเคือง (strong disagreement between

people, groups, etc., that results in often angry argument)ความแตกต่างเป็นอุปสรรคไม่ให้มีข้อตกลง: ความขัดแย้ง

ของกลุ่มคนในมิติของความคิด ความเชื่อ และความรู้สึกอื่น ๆ (a difference that prevents agreement, disagreement


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


738 : สังคมและวัฒนธรรม

between ideas and feelings)

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความขัดแย้ง คือสภาพการณ์ที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่า มีความคิดเห็นหรือ

ความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้ ความขัดแย้งอาจเป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างบุคคล

และอาจรวมถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนหรือชุมชน ตลอดจนความขัดแย้งทางทหารหมายถึงสงคราม (war) ซึ่งเป็นการใช้

กําลังระหว่างกันของสองฝ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจที่เหนือกว่า และที่รุนแรงที่สุดคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือที่เรียกว่า

genocide

ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นคือการให้คําจํากัดความของอัตลักษณ์และความขัดแย้ง วัตถุประสงค์ของบทความนี้ก็

เพียงเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างอัตลักษณ์ของชาติและความขัดแย้งทางการเมือง รวมไปถึงการ

เกิดการต่อสู้กันโดยใช้ทั้งกําลังความคิดและกําลังกายในส่วนต่อไปเป็นการวิเคราะห์สาระหลักจากหนังสือของเยกอร์ ไกดาร์ ใน

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มในระดับชาติ

2. บทวิเคราะห์ของเยกอร์ ไกดาร์ 1

ในส่วนนี้ผู้เขียนวิเคราะห์ผลงานของเยกอร์ ไกดาร์ (2007) จากหนังสือที่เขาเขียนขึ้นมีชื่อว่า การล่มสลายของจักรวรรดิ

บทเรียนสําหรับรัสเซีย (Collapse of an Empire: Lessons for modern Russia) ไกดาร์ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจยิ่ง นั่นคือ

แนวคิดที่ว่าสาเหตุหลักที่จักรวรรดิ (empires) ล่มสลายคือการกําเนิดลัทธิชาตินิยม (nationalism) ภายใต้กระบวนการ

สร้างอัตลักษณ์ของชาติ ซึ่งก่อให้เกิดขบวนการต่อต้านการปกครองจากอํานาจส่วนกลาง (central government) ซึ่งเขาได้

แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงข้อบกพร่องของระบบจักรวรรดินิยมของโลก แม้ว่าไกดาร์จะชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงดังกล่าวในบริบท

ของการอธิบายมูลเหตุของการล่มสลายของอาณาจักรขนาดใหญ่ในอดีตและของอดีตสหภาพโซเวียต

ก่อนอื่นขอแนะนํานักคิดและนักการเมืองนามอุโฆตของรัสเซีย เยกอร์ ไกดาร์ เขาถึงแก่อสัญกรรมในเดือนธันวาคมปี

ค.ศ. 2009 อดีตเคยรักษาการนายกรัฐมนตรีรัสเซียตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 1992 เขาได้รับการจดจําในประวัติศาสตร์

เอาได้ว่าเขาคือบิดาของความขัดแย้ง การปฏิรูปการเปิดตัวหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายใต้ชื่อ "การรักษา

ด้วยการช็อต หรือ Shock Therapy" ทําให้เขาได้รับทั้งการสรรเสริญและการถูกวิจารณ์ที่รุนแรงปัจจุบันมีการตั้งมูลนิธิภายใต้

ชื่อ เยกอร์ ไกดาห์ขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเกียรติและส่งเสริมแนวทางการเรียนรู้ วิจัย การจัดการระบบเศรษฐกิจแนวเสรีนิยม2

นอกจากจะได้รับการยอมรับในฐานะนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองแล้ว ไกดาร์ ยังเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง การล่ม

สลายของจักรวรรดิ (Collapse of an Empire) นําเสนอมูลเหตุที่ทําให้อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของอดีตสหภาพโซเวียตที่ถึงกาล

ล่มสลายลงในช่วงทศวรรษที่ 1990หนังสือเล่มดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการพูดถึงอดีตที่หลากหลายของการล่มสลายของจักรวรรดิ

ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่นอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณและในสมัยใหม่เช่นโซเวียตและยูโกสลาเวีย โดยจากนั้นไกดาร์ยัง

อธิบายว่าทําไม สหภาพโซเวียตจึงล้มเหลวและล่มสลายไปในที่สุดคําตอบหนึ่งที่ไกดาร์ให้ไว้คือ ปัญหาทางเศรฐกิจ การที่อดีต


1

เยกอร์ ไกดาร์ คือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและมีประสบการณ์ตรง เขาถึงกับประกาศว่า “ข้าพเจ้ารู้ดีกว่าหลายคนว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ

การล่มสลายของจักรวรรดิ์และปัญหาที่ศูนย์กลางของจักรวรรดิ์ต้องเผชิญ (I know more than many people about the practical issues

related to the collapse of an empire and the problems faced by the authoritiesin the metropolis). (p. XV)”

2

https://www.facebook.com/gaidarfellowship


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


: สังคมและวัฒนธรรม 739

สหภาพโซเวียตเดิมเป็นจักรวรรดิ์ที่ประกอบขึ้นด้วยชาติที่แตกต่างกันและมีสัดส่วนถึงประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด

และการที่รัฐมีอํานาจอย่างไม่จํากัด คือการเป็นรัฐที่ใช้ระบบรวบอํานาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ซึ่งไกดาร์วิจารณ์ว่าตายตัว

และขาดความยืดหยุ่นจึงไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงของยุคสมัยได้

ก่อนอื่นต้องทําความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า รัฐชาติ (nation state) และ จักรวรรดิ (empire) นั้นมีความหมายคาบ

เกี่ยวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย อาจกล่าวได้ง่าย ๆ จักรวรรดิคือ

รัฐชาติขนาดใหญ่ ไกดาร์แบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองประเภทคือ แบบบูรณาการดินแดน (เช่น จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี)

และแบบปกครองโพ้นทะเล (เช่น อาณานิคมเดิมของฝรั่งเศสในอาเซียน) ของในหนังสือเล่มดังกล่าว เยกอร์ ไกดาร์ ยกตัวอย่าง

จักรวรรดิโซเวียตที่ได้ล่มสลายไปแล้ว จักรวรรดิส่วนใหญ่ในโลกได้แปรสภาพไปแล้ว เช่น จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เป็น

ต้นและมูลเหตุของการล่มสลายส่วนหนึ่งคือการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยมของรัฐที่ไปปกครอง และการกําเนิดของลัทธิชาตินิยม

นั้นมีพื้นฐานมาจากการขาดสิทธิและเสรีภาพ การไม่มีอัตลักษณ์ของชาติหรือของชาติพันธุ์ของตนซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ ฟูกุยา

มา (Fukuyama, 1992) อธิบายว่าคือ ความปรารถนาที่จะได้รับการรับรู้ว่ามีตัวตนอยู่ (Recognition) กอรปกับการแผ่ขยาย

ของลัทธิเสรีนิยมที่ให้สิทธิ ความเสมอภาคและเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น การเข้าถึงข่าวสารข้อมูล ก็มีส่วน เป็นที่น่าสังเกต

ว่าการล่มสลายดังกล่าวเกิดขึ้นหลัง มิคาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต นํานโยบาย กลานอสต์ เป็นการให้เสรีภาพ

มากขึ้นกับประชาชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือการเรียกร้องความเป็น

อิสระจากอํานาจส่วนกลางของรัฐบริวารเช่นเดียวกับ มิคาอิล กอร์บาชอฟ เยกอร์ ไกดาร์ ถูกโจมตีอย่างรุนแรงในฐานะผู้ที่มี

ส่วนในการทําลายสหภาพโซเวียตในหนังสือเล่มดังกล่าว ไกดาร์ ได้พยายามลบล้างความเชื่อของฝ่ายที่นิยมลัทธิชาตินิยมของโซ

เวียตเดิมที่ได้ อธิบายมูลเหตุของการล่มสลายว่าเป็นผลของฝ่ายตะวันตก เกิดจากความชั่วช้าของปัจจัยภายนอกหรือ ผู้นํา ของ

โซเวียตขายชาติ ไกดาร์แย้งว่าเป็นผลของธรรมชาติของระบบ (nature of the system) ซึ่งระบบดังกล่าวคือระบบการ

ปกครองของจักรวรรดิที่รวบอํานาจและใช้อํานาจแบบเผด็จการนั่นเอง และระบบดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองกับความ

เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกได้ การล่มสลายจึงเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และการที่การล่มสลายไม่มีการนองเลือดเกิดขึ้นเหมือน

เช่นที่เกิดขึ้นในยูโกสลาเวียน่าจะเป็นสิ่งที่ชาวรัสเซียควรมีความภาคภูมิใจการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ที่

ล้มเหลวยังเป็นเหตุให้เกิดการล่มสลายของจักรวรรดิ ไกดาร์ได้วิจารณ์แนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ (Marxist Economic

Model) ในเรื่องของการผลิตว่าเป็นองค์ประกอบที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐ เขาวิจารณ์ว่าแนวคิดทางเศรษฐกิจดังกล่าว

ทําให้การพัฒนาเศรษฐกิจในจักรวรรดิของเผด็จการสหภาพโซเวียตหมุนวนไปสู่จุดจบ ไกดาร์ได้วิจารณ์ความไม่ยั่งยืนของการ

พึ่งพาความมั่งคั่งจากการผลิต (production) และจําหน่ายน้ํามันดิบ อันส่งผลต่อการบริหารจักรวรรดิ์ ทําให้ขาดสภาพคล่อง

ในการบริหารประเทศเมื่อราคาน้ํามันตกต่ําลงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนมากของเขานั้นไม่ได้เพียงเพื่อเตือน เพื่อนร่วมชาติชาว

รัสเซียเกี่ยวกับการพึ่งพารายได้จากน้ํามัน มาก เกินไป เขายังได้แสดงความกังวลกับการที่ยังมีความพยายามในรัสเซียที่จะ

นําพาประเทศไปสู่ความผิดพลาดในอดีต สิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม ที่เพิ่มขึ้นคือการสร้างลัทธิชาตินิยมขึ้นมาใหม่ หรือการ

หวนหาความรุ่งเรื่องยิ่งใหญ่ในอดีตของจักรพรรดิโซเวียต โดยนักการเมืองของรัสเซียที่เริ่มมีมากยิ่งขึ้น ในหนังสือเล่มดังกล่าว

ไกดาร์เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เพียงแต่จะไม่ดีสําหรับรัสเซีย แต่ยังเป็นอันตรายต่อสังคมโลกและประเทศอื่นๆ อีกด้วยไกดาร์ใช้อดีต

สหภาพโซเวียตเป็นกรณีศึกษาเพื่อการทําความเข้าใจวงจรชีวิตของจักรวรรดิ โดยอธิบายง่าย ๆ ว่า โซเวียตนําพาตัวเองมาอยู่

ณ ปลายไม่ถูกต้องของประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ยี่สิบ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนํามาซึ่งการสิ้นสุดสําหรับจักรวรรดิแฮปสเบอร์ก

(Hapsburgs) ออตโตมัน (Ottoman) และ โรมานอฟ (Romanoffs) เช่นยุโรปและจักรวรรดิที่มีอาณานิคมในต่างแดนเริ่ม


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


740 : สังคมและวัฒนธรรม

สิ้นสุดลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในทศวรรษที่ 1990การล่มสลายของโซเวียตคือการล่มสลายของจักรวรรดิ์รายล่าสุด

ซึ่งไกดาร์อธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญทางประวัติศาสตร์ แต่การสลายตัวของจักรวรรดิในศตวรรษที่ยี่สิบเป็น

องค์ประกอบของกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นผลสืบเนื่องของสิ่งที่เรียกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทันสมัย

อนึ่ง ย่อมเป็นที่รับทราบกันมาพอสมควรแล้วในหมู่นักวิชาการว่า กระแสของลัทธิชาตินิยม (nationalism) หรือ ความเชื่อว่า

กลุ่มคนย่อมมีสิทธิในการกําหนดชะตาชีวิตของตนได้เริ่มขึ้นในทวียุโรปในศตวรรษที่ 19 หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส แนวคิดในเรื่อง

ของเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลได้รับการตอบรับที่ดี แนวคิดดังกล่าวน่าจะเป็นผลมาจากการปฏิวัติความคิดใน

ศตวรรษที่ 17-18 อันนํามาซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงผู้คนมากกว่าแต่เดิมในอดีต ลัทธิชาตินิยมได้แพร่กระจายไปสู่

ดินแดนนอกทวีปยุโรป ที่เห็นได้ชัดเจนคือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากประเทศมหาอํานาจตะวันตกและเป็นที่น่าสังเกตว่า

หนึ่งในมูลเหตุแห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับลัทธิชาตินิยมภายใต้การปกครองแบบอํานาจนิยมของรัฐ

ชาติที่ใหญ่กว่าเยกอร์ ไกดาร์ ได้วิเคราะห์ว่าการแยกตัวออกจากจักรวรรดิ (Empire) นั้น รวมถึงโซเวียตและยูโกสลาเวียนั้น มี

มูลเหตุมาจากความต้องการมีอัตลักษณ์ของชาติของตน การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (Soviet) ไกดาร์ระบุในหนังสือว่า

การล่มสลายของยูโกสลาเวีย (Yugoslavia)เนื่องจากลัทธิชาตินิยม แม้ว่ายูโกสลาเวียจะไม่ใช่จักรวรรดิแต่เป็นรัฐที่มีการ

รวมกลุ่มของกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ปัญหาของรัสเซียนั้นคล้ายคลึงกันแต่กรณีของยูโกสลาเวียนั้นจบลงด้วยการนองเลือด

เนื่องจากขาดผู้นําที่สามารถประสานผลประโยชน์และแก้ปัญหาความขัดแย้งได้แบบติโต (Tito) และการนําลัทธิชาตินิยมมาใช้

เป็นเครื่องมือทางการเมืองของนักการเมืองบางคน เช่น สลอบอดัน มีลอเชวิชไกดาร์วิเคราะห์ว่า มูลเหตุแห่งการล่มสลายของ

จักรวรรดิ สิ่งที่เป็นธรรมดา เป็นไปตามสมัยนิยม ปัญหาที่เกิดตามมาของการล่มสลายคือความรู้สึกของพลเมืองและกลุ่ม

การเมือง หลังการพ่ายแพ้และล่มสลายของจักรวรรดิไวมาร์ในสงครามโลกครั้งแรก พลเมืองเยอรมันถูกกลุ่มการเมือง

การทหารปลุกปั่นยั่วยุให้ลุกขึ้นกอบกู้ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิเยอรมันเดิม ไกดาร์ชี้ให้เห็นถึงความหายนะที่เคยเกิดขึ้นแล้วใน

อดีต การหวนหาอดีต (Post-imperial syndrome) เป็นปรากฏการณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์ รัสเซียเคยส่งทหาร

เข้าไปในยูเครนเพื่อยึดเอากลับคืนมาเป็นส่วนหนึ่งของตนแต่ความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล3


ไกดาร์วิเคราะห์ให้เห็นถึงความ

ผิดพลาดในอดีตของจักรวรรดิต่าง ๆ ที่พยายามยื้อสิ่งที่ไม่มีอยู่แล้วให้อยู่ต่อไป การกระทําดังกล่าวมักไม่ได้ผลและทําให้เกิด

ความสูญเสียมากมาย เช่น ความพยายามของฝรั่งเศสในอินโดจีน อังกฤษในอียิปต์ เป็นต้น

นอกจากกรณีตัวอย่างจากโซเวียตและยูโกสลาเวียจากบทวิเคราะห์ของไกดาร์แล้ว ความขัดแย้งอันเกี่ยวโยงกับ

กระแสลัทธิชาตินิยม/ชาติพันธุ์นิยมยังเกิดขึ้นอีกมากมายในหลาย ๆ ส่วนของโลก ในส่วนต่อไป ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึง

ลักษณะดังกล่าวในบางส่วนของเอเชีย โดยการวิเคราะห์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางของพม่ากับชนกลุ่มน้อย ความขัดแย้งในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งในแค้วนแคช

เมียร์ของอินเดีย

3. อัตลักษณ์ของชาติและความขัดขัดแย้งในบางส่วนของเอเชียนอกเหนือไปจากตัวอย่างที่ระบุเอาไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว

ยังมีลักษณะตัวอย่างของความขัดแย้งอีกมากมายจากหลายภูมิภาคของโลก ในส่วนนี้จะได้นําเสนอถึงตัวอย่างความสัมพัน

ระหว่างอัตลักษณ์ของชาติและความขัดแย้ง โดยการวิเคราะห์


3

แม้ในปัจจุบัน (17 เมษายน 2557) ปัญหาระหว่างรัสเซียกับยูเครนก็ยังมีอยู่ แต่เป็นการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์รัเซียในดินแดนของยูเครน


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


: สังคมและวัฒนธรรม 741

ความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางของพม่ากับชนกลุ่มน้อย

ความขัดแย้งในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งในแค้วนแคชเมียร์ของอินเดีย

ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซียของไทยนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้อัตลักษณ์ของ

พลเมืองของไทยเชื้อสายมาเลย์ (Malay Thais) ในสามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากประวัติศาสตร์ ในอดีต เมื่อศตวรรษที่ 15-16 ประเทศไทยมีอิทธิพลควบคุมคาบสมุทร

มลายู รวมถึงมะละกา และ สิงคโปร์ รวมถึงรัฐปัตตานี (Patani Darussalam) จนกระทั่งอังกฤษเข้ามามีอิทธิพล อังกฤษเข้า

แทรกแซงในรัฐมาเลย์และผลของสนธิสัญญาอังกฤษ-ไทย ทําให้ไทยเสียดินแดนทางตอนใต้ อันหมายถึงรัฐเกดะห์ รัฐปะลิส

รัฐกลันตันและตรังกานูให้แก่อังกฤษและยังคงไว้ซึ่งดินแดนบางส่วนของคาบสมุทรมลายู ต่อมาได้ปฎิรูปการปกครองโดยแบ่ง

ปัตตานีออกเป็นสามจังหวัด คือ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส

แม้ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นการค้ายาเสพติด ขบวนการค้าของเถื่อน แต่หนึ่งในเหตุผลคือความ

พยายามของกลุ่มคนไทยเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนามุสลิมบางกลุ่มที่ต้องการสร้างอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ตนเอง และไม่เห็น

ด้วยกับนโยบายของรัฐไทยในการบริหารกิจการของรัฐ เช่นนโยบายทางการศึกษา (Chalk, 2008) เมื่อเริ่มรู้สึกถึงสภาวะที่ต้อง

สูญเสียอัตลักษณ์ของตนเองไปจึงทําการต่อสู้ทั้งในเชิงความคิดและการใช้กําลังจวบจนปัจจุบัน4 หนึ่งในข้อเรียกร้องคือการมี

อํานาจในการกําหนดชะตากรรมของตนเองมากขึ้น5 ไม่ได้ต้องการไปรวมเข้ากับรัฐมาเลเซียที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม

คล้ายคลึงกันหนึ่งในเพื่อนบ้านของไทย พม่าเองก็ต้องเผชิญปัญหากับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลชนกลุ่มน้อย

ดังที่ทราบกันดีว่าพม่าแบ่งแบ่งการปกครองแบบเป็น 7 รัฐ 7 เขต แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของการปกครองจึงไม่ใช่เรื่อง

แปลกที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น ความพยายามในการมีอํานาจการปกครองเหนืออีกเผ่าพันธุ์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว เช่นการ

ต่อสู้ระหว่างมอญกับพม่า ไทยใหญ่กับพม่า เป็นต้น

ในความพยายามสร้างเอกภาพขึ้นพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก พม่า เป็น เมียนมาร์ หนึ่งในเหตุผลก็คล้าย ๆ กับ

ไทยในอดีตคือเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและบูรณาการแห่งรัฐ กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่มาใช่พม่าหรือ บาม่า บางส่วนเห็นต่าง

เกรงว่าตนจะสูญเสียอัตลักษณ์และผลประโยชน์จึงแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในหลาย ๆ รูปแบบ จึงเกิดเป็นความขัดแย้งที่

กว้างขวาง เช่นความขัดแย้งรัฐบาลกลางพม่ากับกองกําลังกะเหรี่ยง (KNU)หรือความขัดแย้งรัฐบาลกลางกับกองกําลังที่ต่อสู้

ของรัฐคะฉิ่ง (Kachin) หรือแม้แต่กองกําลังต่อต้านรัฐบาลกลางที่มีอยู่ในรัฐฉานหรือรัฐไทยใหญ่ แม้ปัจจุบันหลังจากที่พม่าหัน

มาเปิดกว้างเชิงนโยบายมากขึ้นปัญหาความขัดแย้งจะลดน้อยลง แต่ก็ยังไม่หมดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่างชาว

พม่าที่นับถือศาสนาพุทธและที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ที่เริ่มปะทุขึ้นอีกหากวิเคราะห์ก็จะพบว่า มูลเหตุของความ

ขัดแย้งดังกล่าวนั้น จากส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความปรารถนาของรัฐของชนกลุ่มน้อยที่ต้องการรักษาอัตลักษณ์ของชาติตนเอง

เอาไว้ เช่น ชาวไทยใหญ่ ชาวว้า ย่อมต้องการรักษาภาษาไทยใหญ่และว้า ประเพณี และวิถีการดําเนินชีวิตของเผ่าพันธุ์ตนเอง

เอาไว้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลกลางของพม่าก็มีนโยบายในการสร้างอัตลักษณ์ของชาติขึ้นมา หนึ่งในความพยายามคือเปลี่ยน

ชื่อจากพม่าเป็นเมียนมาร์ และให้มีการสอนภาษาพม่าในโรงเรียนประถมและมัธยม อันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งในกรณีของ

4

http://www.puloinfo.net/[17/04/14]

5

ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย เคยแสดงทรรศนะว่า “พวกเขาต้องยอมรับว่าพวกเขาคือพลเมืองไทย” อ้างอิงจาก

http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2014/02/28/malaysia-in-2014-a-perspective-from-thailand/[17 /04/14]


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


742 : สังคมและวัฒนธรรม

ความขัดแย้งในรัฐยะไข่ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นความขัดแย้งของประชาชนที่นับถือศาสนาต่างกันกรณีความ

ขัดแย้งที่เกิดขึ้น ณ แคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) แม้จะเกิดขึ้นจากการเข้าแทรกแซงของบริษัทอินเดียตะวันออกในปี ค.ศ. 1846

ในการนั้นแม้จะมีความซับซ้อน แต่ก็สามารถระบุได้เช่นกันว่าเกิดจากการแสวงหาอัตลักษณ์ของชาติ นับตั้งแต่ตลอดเวลา

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ดินแดนแคชเมียร์เป็นที่รู้จักกันในประชาคมโลก ในฐานะดินแดนที่ถูกยื้อแย่งชิง เป็นดินแดนแห่งความ

ขัดแย้ง เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามระหว่างอินเดียและปากีสถานมาแล้วถึง 3 ครั้ง ทั้งอินเดียและปากีสถานเชื่อว่าพวกเขามี

สิทธิโดยชอบธรรมในการปกครอง ครอบครองแคว้นแคชเมียร์ ปัจจุบันแคว้นแคชเมียร์แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายที่

ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของอินเดีย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ฝ่ายที่ปรารถนาจะอยู่ภายใต้การปกครองของปากีสถาน

และได้รับการสนับสนุนจากปากีสถาน (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม) และฝ่ายที่ 3 คือฝ่ายที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครอง

ของใครทั้งนั้นแต่ต้องการที่จะเป็นอิสระจากทั้งสองประเทศ

ปัญหาแคชเมียร์มีความสลับซับซ้อนจึงยังไม่จบลงง่าย ๆ บทความหนึ่งในเว็บไซต์ของบีบีซีสรุปเอาไว้อย่างน่าสนใจ

โดยนิยามแคชเมียร์ว่า คืออดีตราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งดินแดนและยึกครองโดยประเทศสองประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน

แต่การได้ดินแดนไปก็ไม่ได้ทําให้ทั้งสองประเทศพอใจ และไม่ได้ทําให้ชาวแคชเมียร์พึงพอใจอีกด้วย (The former princely

state of Kashmir has been partitioned between India and Pakistan since 1947, to the satisfaction of neither

country nor the Kashmiris themselves6) ปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของชาติสําหรับประชาชนชาวแคชเมียร์ก็คือปัญหาอัน

เกิดจากความพยายามสร้างหรือคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ตนเอง และมีปัญหาที่เพิ่มขึ้นจากการกําหนดลักษณะเฉพาะของ

ตนเองที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมอยู่ในตัว7


เช่นการกําหนดให้มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจําชาติย่อมได้รับการแย้งกับกลุ่ม


คนอีกฝ่าย การดิ้นรน (struggle) ของกลุ่มชาติพันธุ์ในแคว้นแคชเมียร์จึงยังมีอยู่ต่อไป

อีกหนึ่งตัวอย่างของความขัดแย้งอันเกี่ยวโยงกับอัตลักษณ์ของชาติคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของฟิลิปปินส์

กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนามุสลิมกับกลุ่มอื่น ๆ และรัฐบาลกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวชาวคริส

เตียนที่เกาะมินดาเนา มูลเหตุของความขัดแย้งก็คือความปรารถนาที่จะมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง รัฐบาลฟิลิปปินส์

ค.ศ. 1985 ได้กําหนดให้บางส่วนของเกาะมินดาเนาเป็นเขตปกครองตนเองกึ่งอิสระเรียกว่า เขตปกครองพิเศษมุสลิมมินดาเนา

(AutonomousRegionin Muslim Mindanao)8


ทว่าปัญหาความขัดแย้งก็ยังไม่ยุติยังมีการต่อสู้ระหว่างกองกําลังชนกลุ่มน้อย

และกองกําลังของรัฐบาลกลางอนึ่งความมุ่งหวังของการขอสภาพการปกครองตนเองแบบกึ่งอิสระก็เพื่อต้องการกําหนดอนาคต

ของตนเองและรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง (distinct cultural heritage and identity) ดังที่ได้ระบุไว้ใน

เว็บไซต์ของภูมิภาคว่า “ ประวัติศาสตร์ของ ARMM นั้นเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของชาวมุสลิมต่าง ๆ ของมินดาเนาเพื่อนําไปสู่

การปกครองตนเองและการกําหนดชะตากรรมของตนเอง (The history of the ARMM has always been intertwined

with the struggle of the Muslim peoples of Mindanao towards self-rule and self-determination.)10”

จากการวิเคราะห์ตัวอย่างข้างต้น เราจะพบว่าความขัดแย้งระหว่างการสร้างอัตลักษณ์ของชาติและการแสวงหา

อิสรภาพและความเท่าเทียมกัน (liberty and equality) ของกลุ่มชาติพันธุ์ภายในรัฐชาติ ปัญหาความขัดแย้งมีความ

6

“Kashmir profile” http://www.bbc.com/news/world-south-asia-11693674 [28 /02/14]

7

http://www.jammukashmir.co.uk/ [28/02/2014]

8

http://armm.gov.ph/[28/02/2014]


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


: สังคมและวัฒนธรรม 743

สลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อมีการเข้ามายุ่งเกี่ยวพัวพันของรัฐใกล้เคียง เช่น ในกรณีของพม่ากับบังคลาเทศ9 การประทุขึ้นของ

ความขัดแย้งนั้นมีมูลเหตุมาจากความปรารถนาที่จะมีอิสระในการกําหนดอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ของตนเอง ฟูกุยามา

(Fukuyama, 1992) อธิบายว่าอันเป็นผลมาจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและกระแสการพัฒนาตามแนวคิดเศราฐกิจเสรีและ

แนวคิดทางการเมืองแนวเสรีนิยมประชาธิปไตย กระแสสิทธิมนุษยชนของโลกและระบบเศรฐกิจเสรีที่ผูกพันกันเป็นโครงข่าย

ทําให้การใช้กําลังปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมาสามารถทําได้เหมือนในอดีต เยกอร์ ไกดาร์เคยให้สัมภาษาณ์ว่า รัสเซียไม่

สามารถเอาชนะกลุ่มต่อต้านในดินแดนเชชเนียแบเดิม ๆ ได้

4. แนวคิดในการบริหารความขัดแย้ง

ในส่วนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างของความขัดแย้งอันเกี่ยวเนื่องกับความพยายามในการกําหนดอัตลักษณ์ของกลุ่ม

ชาติพุนธุ์ของตนที่อาจจะมีมากกว่าความจงรักภักดีต่ออัตลักษณ์ร่วมของชาติ ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะได้นําเสนอแนวคิดในการ

บริหารความขัดแย้งในระดับแนวคิดโดยวิเคราะห์ถึงแนวทางของสหรัฐอเมริกาที่เน้นการหลอมรวมวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้า

ด้วยกัน โดยอุปมาว่าอเมริกาเป็นดั่งเบ้าหลอมทางวัฒนธรรม (Melting Pot) กับแนวทางของแคนาดา ภายใต้อุปมาว่าแคนาดา

คือโมเสคทางวัฒนธรรม (Cultural Mosaics) โดยนําเสนอข้อสรุปทีอยู่ตรงกลางระหว่างแนวคิดทั้งสองขั้ว นั่นคือแนวคิด

ประสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สามารถอุปมาได้ดั่งเบ้าหลอมที่ทํามาจากโมเสค (Mosaic Pot) ร่วมกันหลอมอัต

ลักษณ์ของชาติ ในส่วนของที่มาของแนวคิดนี้นั้นเป็นการขยายความข้อคิดเห็นของฟรานซิส ฟูกุยามา (Fukuyama, 2014)

ที่ว่าการสร้างอัตลักษณ์ของชาติคือการสร้างความจงรักภักดีของกลุ่มคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่อชาติ โดยที่ความจงรักภักดีต่อชาติ

ต้องมีมากกว่าต่อกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มชาติพันธุ์ของตน

หากจะว่าไปแล้วภารกิจหลักของทุกรัฐ (state) ไม่ว่าจะเป็นรัฐชาติ (Nation state) หรือชาติรัฐ(state nation) ก็ตาม

ย่อมรวมถึงการสร้างความเป็นเนื้อเดียวกันของรัฐ หลายรัฐมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีความเป็นพหุสังคม มีความ

หลากหลายทางภาษา ประเพณีและวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย พม่า สิงคโปร์ การบริหารรัฐย่อม

ต้องอาศัยความละเอียดลออในการวางนโยบายและประสานพลังของพลเมือง ในกรณีของอินเดียนั้นความขัดแย้งยังคงมีอยู่ แต่

อินเดียก็ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างความเป็นเอกภาพของสังคมแม้จะมีความหลากหลาย อชุชโสช วาสเนย์

(Ashutosh Varshney)ได้อธิบายว่าอินเดียสามารถจัดการและบริหารความหลากหลายจนทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าอัตลักษณ์ของ

อินเดียที่ค่อนข้างลงตัว ชาวอินเดียยอมรับในอัตลักษณ์ที่หลากหลาย อัตลักษณ์ของพลเมืองอาจมีอยู่ถึงสองสถานะคือสถานะ

ที่เป็นพลเมืองแห่งรัฐ (แคว้น) และพลเมืองแห่งรัฐชาติ อัลเฟรด สเตปานาล (Alfred Stepana1) และ ฮวล ลินซา ( Juan

Linza) (1996) เสนอว่า ประเทศ/รัฐชาติ (nation state) นั้นแตกต่างจาก รัฐ (state nation) ในแนวทางการบริหารอัต

ลักษณ์ของพลเมือง โดยรัฐ (อาจแปลว่า เมือง ) มีแนวทางในการรักษาภาษา ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมของเมืองตนเอง

ได้ดีกว่า ในขณะเดียวกันทั้งคู่อ้างว่ารัฐแบบ sate nation ยอมรับในความหลากหลายได้มากกว่า อย่างไรก็ตามหลักฐานเชิง

ประจักษ์ยังมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว

อนึ่ง การสร้างอัตลักษณ์ของชาติคือกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยเวลา ไกดาร์อิบายให้เห็นถึงความท้าทายในการ

สร้างอัตลักษณ์ของชาติในช่วงยุคกลาง อังกฤษและฝรั่งเศสประกอบไปด้วยผู้คนที่มาจากเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกันหลากหลาย มี

9

http://www.irrawaddy.org/burma/govt-complains-bangladesh-rohingya-op-ed.html[17 /04/14]


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


744 : สังคมและวัฒนธรรม

หลากหลายเชื้อชาติ เยกอร์ ไกดาร์ วิเคราะห์ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศ มันต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการสร้างอัตลักษณ์ของ

ชาติที่ชัดเจน (น. 13)การสร้างอัตลักษณ์ของชาติให้ชัดเจนและมั่นคงอาศัยเวลาและความพยายามจากทุกภาคส่วนที่ประกอบ

ขึ้นเป็นรัฐชาติ

สหรัฐอเมริกา (United States of America) มีประวัติศาสตร์มายาวนานนัก (ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเมื่อวันที่ 3

กันยายน ค.ศ. 1783 ) และลักษณะทางสังคมที่มีความเฉพาะตัว ยึดมั่นในค่านิยมของชาติในเรื่องของเสรีภาพและความเท่า

เทียมกัน ทุกคนอยู่ภายใต้กฎแห่งการอยู่ร่วมกัน ประวัติความเป็นมานั้นสหรัฐอเมริกานั้นเริ่มต้นจากการเป็นดินแดนแห่งโอกาส

(The Land of Opportunities) เป็นดินแดนที่เปิดกว้างทางโอกาส จึงมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ อยู่ทั่วทุกมุมโลก และมี

วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แนวทางของสหรัฐฯในการสร้างกฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน จึงสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของอเมริกา

ขึ้นมา เพื่อหล่อหลอมให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐมีจุดร่วม เช่น ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับ

ถือศาสนา และยึดมั่นในแนวทางของระบอบประชาธิปไตย รวมถึงลัทธิเสรีนิยมแบบอเมริกันที่ให้เน้นในความมีอิสระเสรีในการ

แสดงออก การค้า และการดําเนินชีวิต ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน หากจะพิจารณาแล้วเราจะพบว่าสหรัฐอเมริกาหลีกเลี่ยงที่จะ

สร้างอัตลักษณ์ทางศาสนาแต่ให้ความสําคัญกับหลักการนามธรรมแทน เช่น สิทธิ ความเสมอภาค และเสรีภาพ ปัจจุบัน

อเมริกาเป็นผู้นําระบอบการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) ไม่ว่าพื้นฐานทางวัฒนธรรมเดิมของ

บุคคลจะเป็นอย่างไร แต่เมื่ออยู่ภายใต้สังคมอเมริกัน เขาต้องพยายามละลายพฤติกรรมและความเชื่อเดิมเพื่อปรับตัวเข้ากับ

สังคมวัฒนธรรมใหม่อันมีพื้นฐานมาจากหลักสองประการที่ฟูกุยามา (Fukuyama, 1992) ระบุว่าเป็นแก่นของวัฒนธรรมแบบ

เสรีนิยมประชาธิปไตยนั่นคือ เสรีภาพและความเท่าเทียมกัน (liberty and equality) ฟูกุยามา (Fukuyama, 2014) อธิบาย

ถึงอัตลักษณ์แบบอเมริกันว่า มีลักษณะเป็นอัตลักษณ์ที่อิงกับการเมือง (political identity) ไม่ได้อิงศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใด ๆ

ในส่วนของแคนาดานั้นมีความพยายามในการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ให้ได้มากที่สุดด้วย

ความเชื่อที่ว่า แม้จะมีความหลากหลายแต่ก็มีความเป็นเอกภาพได้ ดังนั้นในแค้วนควิเบค (Quebec) จึงประกาศให้ใช้ภาษา

ฝรั่งเศษเป็นภาษาราชการ และให้อิสระแก่ชนพื้นในระดับสูงในการออกกฎหมายปกครองตนเอง แนวคิดดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ภายใต้

หลักการที่ว่า ทุกภาษา ทุกวัฒนธรรมมีคุณค่าในสมควรที่จะได้รับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้อยู่ร่วมกัน มีชาวเอเชียย้าย

ถิ่นเข้าไปอาศัยอยู่สูงอย่างไรก็ตามค่านิยมหลักของประเทศก็ยังอยู่นั้นคือ ค่านิยมในการเคารพกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และ

เสรีภาพแม้จะให้อิสระสูงแก่เผ่าพันธุ์ต่าง ๆ แต่แคนาดาก็ยังมีวัฒนธรรมตะวันตก (western culture) เป็นวัฒนธรรมหลัก

เช่นเดียวกับออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา และมีแนวคิดในการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy)

เช่นดียวกับสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย มาถึงจุดนี้ เราอาจวิเคราะห์ได้ว่าอัตลักษณ์ทางการเมือง (political identity) ของ

แคนาดานั้นใกล้เคียงกับอัตลักษณ์ของสหรัฐอเมริกา แตกต่างกันก็เพียงระดับในการให้อิสระแก่กลุ่มชาติอพันธุ์ในการรักษา

ส่งเสริมวัฒนธรรมของตน เช่นการให้อิสระแก่คนพื้นเมืองเดิม (aboriginal peoples) ในการบริหารทรัพยากรและดํารงชีวิต

ตามวิถีทางของตน

ในส่วนของแนวคิดในการอยู่ร่วมกันเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งนั้น ผู้เขียนได้วิเคราะห์ว่าแนวคิดทั้งสอง ลักษณะที่

กล่าวมานั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียของแบบอเมริกันคือการเสื่อมถอยของอัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์เดิมของตนหากนํา

วัฒนธรรมต่าง ๆ มาหลอมรวมกันเป็นวัฒนธรรมแบบอเมริกัน ในทางแนวคิดแล้วการละลายวัฒนธรรมดังกล่าวยังมีปัญหา

ในทางแนวคิดอยู่ ข้อเสียของแนวคิดแบบแคนาดาก็เช่นเดียวกันคือวัฒนธรรมแบบที่ไม่ใช่ตะวันตก (non-western cultures)


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


: สังคมและวัฒนธรรม 745

และค่านิยมอื่น ๆ จะกลายเป็นส่วนรองของสังคม แน่นอนทั้งสังคมอเมริกันและแคนาดาประสบความสําเร็จในการสร้างอัต

ลักษณ์ของชาติ แต่ถึงแม้จะประสบความสําเร็จในการสร้างอัตลักษณ์ร่วมในระดับสูงตามที่ฟรานซิส ฟูกุยามา อ้างถึงก็ตาม

(Fukuyama, 2014) ผู้เขียนจึงขอนําเสนอแนวคิดในทางสายกลาง นั้นก็คือ แนวคิดที่สามารถอุปมาได้ว่าเป็นเบ้าหลอมที่ทํามา

จากโมเสคที่หลากสีที่มีความสวยงามสมบูรณ์ ร่วมกันหลอมอัตลักษณ์ของชาติ กล่าวคือวัฒนธรรมที่หลากหลายร่วมกัน

แสวงหาอัตลักษณ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างสร้างสรรค์ สําหรับบุคคลและส่วนรวม เราจะเห็นได้ว่าเบ้าหลอมดังกล่าว

มีความสวยงามเพราะประดับด้วยโมเสคที่หลากสี สิ่งที่ยึดมั่นเป็นค่านิยมและอุดมคติร่วมอาจไม่ได้เป็นของกลุ่มชาติพันธุ์ใดหรือ

กลุ่มคนใด อาจเป็นค่านิยมหรือหลักนามธรรมที่สามารถสร้างความจงรักภักดีของทุกกลุ่มก้อนในสังคมให้เกิดขึ้นในชาติให้ได้ นี่

คือความท้าทายของทุกรัฐชาติ เราเริ่มเห็นทิศทางที่ว่านี้มากขึ้น เช่น แนวคิดของสหประชาชาติ และแนวคิดในการรวมกลุ่ม

ของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มอาเซียน กลุ่มอียู

5. สรุป

แม้การสร้างหรือการส่งเสริมให้อัตลักษณ์ของชาติ ของกลุ่มของแคว้นจะเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ แต่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่

ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งได้ในหลายรูปแบบหากเป็นการสร้างความจงรักภักดีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีมากกว่า สร้างความ

จงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมสมัยใหม่ภายใต้ระบบเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) ที่อัต

ลักษณ์ของชาติและของชาติพันธุ์กําลังถูกกลืนให้ปรับตัวไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (Fukuyama, 1992) ความ

ขัดแย้งทางการเมืองอาจเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มบุคคลให้เกิดความแตกต่างและขัดแย้งกัน เป็น

การสร้างอัตลักษณ์ทางการเมือง (political identity) การมีความเห็นต่างหรือความแตกต่างโดยตัวของมันเองอาจนํามา

สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามหรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้งดงามสร้างสรรค์ เป็นการหาทางออกที่ดีดว่า จากการวิเคราะห์ความขัดแย้งและ

ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางของพม่ากับชนกลุ่มน้อย ความขัดแย้งใน

ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งในแค้วนแคชเมียร์ของอินเดีย อาจสรุปได้ว่าในทุก ๆ ความขัดแย้งที่ยกมาอ้างนี้พบว่ามี

องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ อัตลักษณ์ของชาติ (national identity) และอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ (ethnic

identity) ที่ยังไม่ถูกสร้างขึ้นมา หรือ สร้างขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่ลงตัวในส่วนของข้อเสนอนั้น ผู้เขียนเสนอว่าปัจจัยหนึ่งที่สามารถ

ลดความขัดแย้งลงได้คือการบริหารอัตลักษณ์อย่างถูกวิธี ทําอย่างไรจะให้กลุ่มคนในชาติมีความสร้างความจงรักภักดีต่อชาติอัน

เป็นการบริหารอัตลักษณ์ร่วม ในขณะเดียวกันกับการบริหารอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เปิดโอกาสให้กลุ่มและชุมชนมีสิทธิและหน้าที่

อย่างเท่าเทียมกันในการดําเนินชีวิต ผู้เขียนเสนอให้ใช้อุปมาการอยู่ร่วมกันของทุกเผ่าพันธุ์ในรัฐชาติเดียวกันว่าเสมือนการใช้

เบ้าหลอม (melting pot) ที่สร้างขึ้นจากแผ่นโมเสค (Mosaic) หลากสี หลากลวดลาย สไตล์ และสีสันคือแต่ละเผ่าพันธุ์

ร่วมกันหลอมหรือหล่ออัตลักษณ์ร่วมของชาติ อุดมคตินี้สมควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของโลก


เอกสารอ้างอิง

Ashutosh Varshney.The wonder of Indian democracy. From

http://www.eastasiaforum.org/2012/02/29/the-wonder-of-indian-democracy/ [15 /04/14]

"Conflict." Merriam-Webster.com. Merriam-Webster. From http://www.merriawebster.com/

dictionary/conflict [17/04/14].

Chandler, D. (2002). Semiotics: the Basics. London: Routledge.


การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 4 วันที่ 7 พ.ค. 2557


746 : สังคมและวัฒนธรรม


เอกสารอ้างอิง


Chalk , Peter (2008). The Malay-Muslim Insurgency in Southern Thailand: Understanding the

Conflict’s Evolving Dynamic. National Defense Research Institute, Rand.

“Dr. Francis Fukuyama's thoughts on state building in Africa”From http://www.youtube.com/

watch?v=PXVvZ30B7FI [17/04/14].

Fukuyama, F. (1992). The End of History and the Last Man. Freepress.

Gaidar, , Yegor (2007) “Collapse of an Empire: Lessons for Modern Russia” Antonina W. Bouis (Translator)

Brookings Institution Press

James M. Henslin “Boundless Sociology” From


https://www.boundless.com/sociology/textbooks/alternative-to-sociology-a-down-to-earth-approach-11th-

james-m-henslin-0205252281-9780205252282/chapter-3-understanding-socialization/ [17/04/14].


Juan J. Linz & Alfred Toward Consolidated Democracies Stepan Journal of Democracy 7.2 (1996) p. 14-33

Lee, Yoonmi (2012) [2000]. Modern Education, Textbooks, and the Image of the Nation:

No comments:

Post a Comment

Guru Dakshina: Eklavya and the Buddha

Guru Dakshina: Eklavya and the Buddha By Janpha Thadphoothon If anything, this is one of those moments when I realized something profound. T...