Wednesday, May 20, 2015

แนวทางการเรียนรู้ภาษาอาเซียน (How to learn ASEAN languages more effectively and enjoyable)

บทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาอาเซียน ที่ทั้งมีประสิทธิภาพและนำมาซึ่งความหมายในการเรียนรู้ เรียกว่าเรียนสนุกและเข้าใจลึกและรวดเร็ว โดยมีสมมติฐานที่ว่า ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านควรเริ่มจากการเรียนรู้ความคล้ายคลึงกันของภาษาแบบความรู้ตามแนวตะเข็บชายแดน แบบชาวบ้านร้านค้า แบบขาวบ้าน หรือ The Folk Way

แต่ก่อนที่ผมจะนำเสนอแนวความคิดและแนวทาง ขอนำเสนอมูลเหตุที่ภาษาอาเซ๊ยนเริ่มได้รับความสนใจจากคนในสังคมไทยมากขึ้นทำไมต้องเป็นภาษาอาเซียนเริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นแล้วว่า การบูรณาการสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในระดับภูมิภาค กอรปกับกระแสโลกาภิวัตน์แนวใหม่เริ่มส่งผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมของไทยและประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนโยบายทงสังคม-วัฒนธรรมจึงสำคัญในการธำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์อันดีงามและประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาติ

ไทยเราเองก็ไม่ต่างกับชาติอื่น ๆ ที่ต้องมีแนวนโยบายและแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องและสามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นการเดินทางติดต่อ ค้าขาย ท่องเที่ยว ทำงานระหว่างกันของประชาชน มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะเพิ่มทั้งจำนวนและบทบาทมากขึ้นอีก สิ่งนี้ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากสังคมที่ประกอบขึ้นด้วยวัฒนธรรมเดี่ยว หรือ mono-cultural state ไทยเริ่มเข้าสู่สภาวะของชาติที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น เรียกว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม พหุอัตลักษณ์ หรือ multicultural society ภาษาถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม


การที่มีคนจากประเทศเพื่อนบ้านเดินทางมาทำงาน ท่องเที่ยว ติดต่อค้าขายกับไทย ย่อมหมายถึงการเข้ามาของภาษาประเทศเพื่อนบ้านอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

การมีมุมมองหรือมีทัศนคติในแนวทางสร้างสรรค์ ทางบวกคือจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง การเรียนรู้ภาษาอาเซียนเช่นภาษาเมียนมา หรือ เขมร ควรมองว่าทั้งสองภาษาคือภาษาของคนไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนด้วยเช่นกัน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่อไกลตัว เป็นสิ่งที่ยาก หรือ ต้องอาศัยทฤษฎีขั้นสูงในการเข้าใจ ไม่ควรมองภาษาเพื่อนบ้านแบบเดียวกับการมองภาษาตะวันตกบางภาษาที่วางตำแหน่งของภาษาเอาไว้ในที่สูงเกินไป แบบที่ชาวบ้านเอื้อมไม่ถึง

โดยธรรมชาติแล้ว ภาษาทุกภาษามีสถานะในการสื่อสารเท่าเทียมกัน แต่การให้คุณค่าของมนุษย์เราเองนี่แหละที่คือตัวปัญหา บางคนใช้ภาษาเป็นหน้ากาก หรือ mask ปิดกั้นตัวเองและคนอื่น ๆ สร้างมาตรฐานและกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง




การที่ภาษาอาเซียนเพิ่งเริ่มเปิดตัว ผมจึงอยากให้มองภาษาอาเซียนแบบชาวบ้าน เหมือนเช่นที่อาจารย์สอนภาษาอินโดนีเซียเคยคุยกับผมว่า ภาษาอินโดนีเซียน ภาษามาเลย์ นั้นคือ " ภาษาบ้านเรา .


คำว่าภาษาบ้านเรา นี้ ในทัศนะของผมถือว่าถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง ถูกต้องในหลาย ๆ มิติ ประการแรกคือ มันเป็นความจริง และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และเข้าถึง




การเน้นที่การสื่อสาร มากกว่าการเน้นความถูกต้องทางแกรมม่า หรือหลักไวยากรณ์ ทำให้การสื่อสารสนุกและมีความน่าสนใจ การ "ด้นสด ๆ " ไม่ต้องพิถีพิถันจนเกินไป ทำให้การพูดคุยสนุกและเป็นธรรมชาติ

ผมเคยได้ยินคุณพ่อพูดคำว่า "โตนา" กับ "มาซีบาย" สมัยยังเป็นเด็ก เวลาที่คุยกับชาวบ้าน เพื่อนบ้านที่เป็นชาวเขมรและส่วย (กุย) เรียกได้ว่าคุ้น ๆ หู แม้จะไม่มีใครบอกแต่ผมพอเดาได้ว่า "โตนา" คือ "ไปไหน" และการเรียกให้เขามาร่วมกินข้าวคือ "มาซีบาย" แม้พ่อจะไม่รู้คำว่า "โม. ที่แปลว่า มา ก็ตาม แต่การสื่อสารก็เชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านและคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี







No comments:

Post a Comment

ประเด็นเรื่องการสอนคำหยาบคาย (Issues of SOTL in ELT) ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ

การจัดการกับคำหยาบ (Profane Language) ในการสอนภาษาอังกฤษ: แนวทางและข้อคิดเห็น Janpha Thadphoothon, Ed D  ในสถานการณ์การสอนภาษาอังกฤษ (ELT) ท...