คำผวน ในภาษาเวียดนาม (Word Play in Vietnamese)
จันทร์พา ทัดภูธรการนำคำมาเล่น หรือ word play มีด้วยกันทุกชาติทุกภาษา การผวนคำ หรือ spoonerism คือรูปแบบหนึ่งของการเล่นคำ
ในภาษาอังกฤษ ก็มีการผวนคำเช่นกัน เรียกว่า spoonerism ครับ
ตัวอย่างที่นิยมยกกันมาบ่อย ๆ คือ "The Lord is a shoving leopard" ซึ่งผวนมาจากประโยคที่ว่า
"The Lord is a loving shepherd."
ภาษาไทยเรานิยมเล่นคำผวนมาก เช่น อะรีดอย = อร่อยดี
ภาษาเวียดนามก็เช่นกัน ผมขอแนะนำรูปแบบการเล่นคำ 2 แบบ คือ
1. nói lái นอยไหล คือ การสลับคำ แปลตรงตัวว่า พูดใหม่ / พูดอีกครั้ง โดยสลับคำหลังไปหน้า หน้าไปหลัง แต่คงตำแหน่งของเสียงวรรณยุกต์ เช่น
chửa hoang ( การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส - (ท้องเถื่อน) ผวนเป็น hoảng chưa (กลัวยัง)
คำว่า chửa (ฉัว) แปลว่า ท้อง ส่วน hoang (ฮวง) แปลว่า เถื่อน
hoảng แปลว่า กลัว + chưa ยัง
mèo cái แมวไก๋ แปลว่า ไก่ตัวเมีย
ผวนเป็น mài kéo ไมแก๋ว แปลว่า ลับกรรไกร
2. เป็นการเล่นคำของเด็ก ชาวเวียดนาม โดยนำคำที่คิดขึ้นมาวางไว้หน้าคำหลัก แล้วผวนกลับพยัญชนะต้นและเสียงสัมผัส เช่น
la phở - lơ phả ลาเฝอ - เลอฝา
(เฝอ คือ อาหารคล้ายก๋วยเตี๋ยว)
แบบนี้คล้ายกับการผวนคำของไทยมากที่สุด ต่างรงที่นำคำอื่นมานำหน้าคำหลัก กล่าวคืออีกฝั่งอาจไม่มีความหมายก็ได้ เช่น จำใด (ไม่มีความหมาย) ผวนเป็น ใจดำ (มีความหมาย)
อ้างอิง
"Nói lái" https://vi.wikipedia.org/wiki/N%C3%B3i_l%C3%A1i
No comments:
Post a Comment