Sunday, May 29, 2016

Puns (การเล่นคำพ้อง) ในภาษาเมียนมา (Puns in Myanmar)

Puns (การเล่นคำพ้อง) ในภาษาเมียนมา (Puns in Myanmar)

จันทร์พา ทัดภูธร





คนอาจจะสงสัย ว่า pun คืออะไร อ่านง่าหลายย ๆ ว่า "พัน"  



pun คือ การเล่นคำ ครับ เป็นการเล่นคำพ้อง อาจจะพ้องเสียงหรือพ้องรูป จะยกตัวอย่างภาษาอังกฤษก่อน

pea and p - which letter is a vegetarian? Answer: P เนื่องจากพ้องเสียงกับคำว่า pea (ถั่ว)

Pun มักพบเห็นบ่อย ในการเล่นตลก ทายปัญหาเชาวว์ เด็ก ๆ ชอบเอามาทาย

เช่น ปา อะไรที่ใหญ่ที่สุด - คำตอบคือ ปากีสถาน เป็นต้น

ในภาษาเมียนมาการเล่นคำ สามารถนำมาทายปัญหาเชาว์บ่อย ๆ เช่น




หากลำธาร ไม่มีนำ้จะเป็น (ช้อง) ลำธารอะไร 





คำตอบคือ มีช้อง หรือ หลอดไฟ  -- Fluorescent Light tube



การเล่นคำในภาษาพม่า ในตัวอย่างที่ยกมานี้คือการเล่นคำพ้องเสียง ช้อง (แปลว่า ลำธาร หรือ creek) - 
นัยที่สองของคำว่า ช้อง คือ สิ่งของยาวๆ เป็นลักษณะนาม และสามารถนำมาผสมกับคำอื่น เช่น ในกรณี

นี้ มี (ไฟ) ช้อง (แท่งยาว ๆ )

มีช้องคือหลอดไฟยาว แปลตรงตัวว่า ไฟยาว ๆ 


ตัวอย่าง ต่อมา







ถามว่า มันคือถังอย่างหนึ่ง แต่ใส่นำ่ไม่ได้ ถังที่ว่านั้นคือถังอะไร

คำตอบ



แก้วหู หรือ eardrum

ทำไมในภาษาเมียนมา จึงเป็นการเล่นคำ
1. ในภาษาเมียนมา คำว่า ซี แปลว่า กลอง หรือ ถัง ก็ได้
2. ซี ที่แปลว่า ถัง ปกติจะใส่น้ำได้ แต่คำใบ้คือว่า ถังอะไรที่ใส่น้ำไม่ได้ 
3. คำตอบคือคำว่า นาซี แปลว่า แก้วหู (เมียนมา คือ กลองหู) 

เราจะพบว่า คำถาม/คำตอบ จะ Make sense ในระบบเสียงและความหมายของภาษานั้น ๆ เท่านั้น 

เท่าที่พบ การเล่นคำพ้องเสียงเป็นรูปแบบหลักในการเล่นคำ ซึ่งไม่แตกต่างกับภาษาไทย และ ลาว 




No comments:

Post a Comment

How to Communicate with AI through Prompts

 How to Communicate with AI through Prompts Janpha Thadphoothon I'm writing this blog article in reaction to some questions students ask...