Wednesday, May 25, 2016

ยุค อัตตาสัญญานิยม (auto-significationism)

ว่ากันว่า ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป สมัยนี้ยุคไอซีที ICT ยุคเซลฟี่ (Selfie) สิ่งที่เราพบเห็นและทำกันอยู่คือ การแสดงออกของอัตตา ที่มากขึ้น 
อาจเรียกว่าเป็นยุคทองของอัตตา ขอเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุค อัตตาสัญญานิยม


                                     Photo credit: www.decodedscience.org


คำว่า  สัญญะ (signs)  ได้มีนักภาษาศาสตร์อธิบายและให้ความหมายไว้มากมาย ง่าย ๆ คือ สิ่งที่ให้แทนสิ่งอีกสิ่งหนึ่ง (It refers to other thing)

ความหมายที่  Ferdinand  de  Saussure  นักภาษาศาสตร์ได้อธิบายเอาไว้ คือ 
สิ่งที่สัมผัสได้ด้วย sensual organs หรือ อายตนะและเป็นสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งได้ตกลงกันใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องหมาย (agreed upon by a group of people) ถึงอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ได้ปรากฎอยู่ในสัญญะนั้น (other than itself)

เช่น เราพูดว่า apple จะหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง

ส่วนที่เป็นเครื่องหมายนี้เรียกว่าเป็น ตัวหมาย ตัวบ่งชี้ /หรือภาษา ( Signifier ) - the language that you see or hear - เช่นได้ยินคำว่า apple

 และในส่วนที่เป็นสิ่งหมายถึงเรียตรง ๆ ว่า "สิ่งที่ถูกอ้างถึง " หรือ Signified  

ในภาษา บาลี คือ สัญญา เราท่องว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน และเป็นทุกข์

ในทางทฤษฎี สัญญะจะต้องประกอบไปด้วย signifier และ signified  ซึ่งสองสิ่งนี้จะต้องประกอบกันจะปราศจากตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้  The signifier and its signified are inseparable. ครับ

ตามความหมายนัยนี้ สิ่งที่เป็นของจริงหรือรูปธรรม ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้


อีกแนวคิดหนึ่งคือ แนวคิดว่า ของจริง ยังมีอยู่ ซึ่งเป็นระบบของสัญญะตามแนวคิดของ Pierce  องค์ประกอบของสัญญะ มีอยุ่ สิ่งคือ
1.   ของจริง (reference / real things)
2.    สัญญะ /ตัวหมาย (signifier /  representamen)
3.    ตัวหมายถึง / แนวคิด (signified / interpretant)




คนเราทุกวันนี้ เน้นการบริโภค (Consume)  บริโภคทุกอย่าง แม้กระทั่งสัญญะ ซึ่งการบริโภคเชิงสัญญะ  หมายถึง  การบริโภคที่เกินเลยไปกว่า สิ่งของที่จับต้องได้  หรือ สิ่งที่ทานได้ เช่น ข้าว แต่เป็นการบริโภคในด้านนามธรรม มายา ภาษาการตลาดคือการสร้างความแตกต่างให้แก่ผู้บริโภค  เช่น  ทานแล้วทำให้เกิดความหรูหรา  รู้สึกว่าทันสมัย  นำแฟชั่น  สวยงาม ดีกว่า เด่นกว่ากว่าบุคคลอื่น 

เรียกว่าบริโภค มายาคติ หรือความหลงผิด
    
และเนื่องจากระบบทุนนิยมสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมบริโภค  และสังคมสมัยนี้ มัก นำสินค้ามาแปรสภาพเป็นสัญญะก่อน ซึ่งในทางการผลิตสามารถทำได้หลายวิธีเช่น  การบรรจุหีบห่อสินค้า (packaging)  การกำหนดราคา จัดโปรโมชั่น การกำหนด Brand  การจักวาง การจำหน่ายสินค้า  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์  

ทั้งหมดทั้งมวลย่อมทำให้สินค้าถูกแปรสภาพเป็น "มายาสัญญะ" ทั้งสิ้น ดังนั้น ปัจเจกชนจึงไม่ได้บริโภคเฉพาแค่ “วัตถุ / a thing”  เพียงอย่างเดียวหากแต่ยังได้บริโภค หรือ เสพ  “สัญญะ / มายา signs”  ไปด้วย

แม้แต่ความรู้ อันเป็นอาภรณ์ทางปัญญาของมนุษย์ ยังถูกนำมาเจือปนกับมายาคติ หรือ มายาสัญญะ เพื่อสร้างความแตกต่าง จือปนไปด้วยกิเลศตัณหา ความกระหายหยาก การศึกษาก็อยู่ภายใต้ลัทธิอัตตานี้






No comments:

Post a Comment

Machine-Operated Vehicles for the Reduction of Road Accidents

Machine-Operated Vehicles for the Reduction of Road Accidents Introduction Road accidents continue to be a significant global problem, causi...