Wednesday, July 24, 2024

เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ: สกิม (Skimming) และ สแกน (Scanning)

 

เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ: สกิม (Skimming) และ สแกน (Scanning)

Janpha Thadphoothon
การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องเลือกเทคนิคการอ่านที่เหมาะสม บทความนี้จะแนะนำเทคนิคการอ่านสองแบบ ได้แก่
สกิม (Skimming) และ สแกน (Scanning) ซึ่งจะช่วยให้นักเรียน/นักศึกษาสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้รวดเร็วขึ้นและเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น


1. สกิม (Skimming)

สกิม (Skimming) เป็นเทคนิคการอ่านเร็วเพื่อจับใจความสำคัญของบทความ เปรียบเหมือนการสำรวจพื้นที่ก่อนลงมือสำรวจอย่างละเอียด เทคนิคนี้เหมาะสำหรับบทความยาว ๆ หรือ บทความที่เราต้องการทราบภาพรวมของเนื้อหา 

To skim through something (e.g. a news report) is to read it quickly นั้นเอง
ครูอาจบอกนักเรียน/นักศึกษาว่า Skim through the news report and tell me what it's about.

ผมในฐานะหนอนหนังสือคนหนึ่งมักใช้เทคนิคการ Skim เมื่อเลือกซื้อหนังเสือ การอ่านคร่าวๆ ให้ได้ข้อมูลมากที่สุดคือการสกิมสำหรับผม 

เทคนิคการสกิม

  • อ่านหัวข้อ (Heading) และ ย่อหน้าแรก (First Paragraph): หัวข้อจะบ่งบอกหัวข้อหลักของบทความ ส่วนย่อหน้าแรกมักจะสรุปประเด็นสำคัญของทั้งบทความ
  • อ่านย่อหน้าสุดท้าย (Last Paragraph): ย่อหน้าสุดท้ายมักสรุปเนื้อหาที่ผ่านมา หรือ บอกถึงข้อสรุปของผู้เขียน
  • อ่านคำสำคัญ (Keywords): คำสำคัญคือคำที่ปรากฏบ่อยในบทความ มักจะบ่งบอกถึงประเด็นสำคัญ เช่น ชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือ แนวคิดหลัก
  • อย่าอ่านทุกคำ: ข้ามผ่านประโยคหรือย่อหน้าที่รายละเอียดปลีกย่อย โฟกัสที่การจับใจความสำคัญ

ตัวอย่างการสกิม

หัวข้อ: การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง

ย่อหน้าแรก: การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิม ที่ผสมผสานวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้ากับธรรมชาติ เป็ดไล่ทุ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ย่อหน้าสุดท้าย: กรมปศุสัตว์มีโครงการรณรงค์ให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนเป็ดไล่ทุ่ง เพื่อควบคุมโรคระบาด และ แนะนำให้เกษตรกรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้เป็ด

คำถาม:

  1. บทความนี้พูดถึงอะไร?
  2. อะไรคือข้อดีของการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง?

เฉลย

  1. บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ข้อดี และ วิธีการป้องกันโรคระบาด
  2. ข้อดีของการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ได้แก่ ช่วยลดต้นทุนการผลิต และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. สแกน (Scanning)

สแกน (Scanning) เป็นเทคนิคการค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจงภายในบทความ เปรียบเหมือนการใช้สายตาสแกนหาคำตอบที่ต้องการ เทคนิคนี้เหมาะสำหรับ บทความยาว ๆ หรือ เว็บไซต์ที่มีข้อมูลเยอะ ๆ เมื่อคุณต้องการค้นหาคำตอบหรือข้อมูลเฉพาะเจาะจง

To scan for the needed data or information หรือการสแกนหาสิ่งที่เราต้องการนั่นเอง
ผมมักสแกนหาชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เวลาเลือกซื้อหนังสือ
การตรวจงาน บ่อยครั้งที่ผใสแกนหาข้อบกพร่อง (errors) หรือ mistakes ในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียน/นักศึกษา 

เทคนิคการสแกน

  • อย่าอ่านทั้งบทความ: ให้ใช้สายตาสแกนหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการ เช่น วันที่ ชื่อ หรือ ตัวเลข
  • ข้ามผ่านประโยคที่ไม่เกี่ยวข้อง: โฟกัสที่ประโยคที่มีคำสำคัญที่คุณกำลังค้นหา

ตัวอย่างการสแกน

สถานการณ์: คุณกำลังจะซื้อโทรศัพท์มือถือจากเว็บไซต์ และต้องการทราบว่าโทรศัพท์รุ่นที่คุณสนใจมีขนาดหน้าจอเท่าไร

  • แทนที่จะอ่านรายละเอียดของโทรศัพท์ทั้งรุ่น คุณเพียงแค่สแกนหาคำว่า "ขนาดหน้าจอ" (screen size)

ตัวอย่าง่ายๆ คือเมื่อเราหยิบหนังสือขึ้นมาแล้วเปิดดูว่านักเขียน (author) คือใคร การอ่านด้วยวิธีที่กล่าวถึงดังกล่าวนั้น คือ การสแกน (You scan for things that you want.) นั่นเองครับ


Janpha Thadphoothon is an assistant professor of ELT at the International College, Dhurakij Pundit University in Bangkok, Thailand. Janpha Thadphoothon also holds a certificate of Generative AI with Large Language Models issued by DeepLearning.AI.

No comments:

Post a Comment

In Search of Silence and Solitude

 In Search of Silence and Solitude By Janpha Thadphoothon Amidst the noises and confusion (online), the last thing we need is more data and ...